Page 99 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 99
97
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
กลไกรับผิดชอบดูแลสวัสดิการ และสวัสดิการด้านสุขภาพของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัด
เพื่อประกันว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดจะได้รับการดูแลสวัสดิการต่างๆ รวมถึงด้าน
สุขภาพ สาธารณสุข อย่างน้อยไม่ต่ำากว่าบริการฯ ขั้นพื้นฐาน ตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สามารถรับการบริการฯ ในโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลรัฐได้ รวมถึงดูแลด้านความปลอดภัย
อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมการทำางานหรือสถานประกอบการ และศึกษาเกี่ยวกับการนำาระบบ
๕๙
Medisave มาใช้ในระบบสวัสดิการข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๑.๔) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงส�ธ�รณสุข สำ�นักง�นหลักประกันสุขภ�พแห่งช�ติ
หรือหน่วยง�นที่เกี่ยวข้องอื่นใด สมควรทบทวนการจ่ายเงินให้แก่หน่วยบริการหรือเครือข่าย
หน่วยบริการเพื่อจัดบริการสาธารณสุข ซึ่งกำาหนดให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนเงินเดือนและ
ค่าตอบแทนบุคลากร โดยให้แยกค่าใช้จ่ายในส่วนดังกล่าวออกมาต่างหาก
๑.๕) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงส�ธ�รณสุข สมควรสนับสนุนและผลักดันให้มี
การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ เมื่อได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล
ไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ภายใต้ระบบบริการสาธารณสุขใด
๑.๖) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงมห�ดไทย กรมส่งเสริมก�รปกครองท้องถิ่น กรม
บัญชีกล�ง และหน่วยง�นที่เกี่ยวข้อง สมควรหารือกันเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ รวมทั้งสวัสดิการด้าน
สุขภาพสำาหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่น เช่น จัดตั้งเป็นกองทุนการรักษาพยาบาล ตลอดจนการหา
แนวทางเพื่อให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นสามารถใช้ระบบการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลได้เช่นเดียว
กับข้าราชการอื่น
๑.๗) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงส�ธ�รณสุขและหน่วยง�นที่เกี่ยวข้อง สมควร
พิจารณาทบทวนนโยบายการปฏิรูประบบสาธารณสุขแก่ผู้บริหารองค์กรด้านสุขภาพ ประกอบด้วย
สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบัน
รับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) (สรพ.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์กรมหาชน) และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การตั้งคณะกรรมการ
นโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Authority) ขึ้นมาดูแลระบบสาธารณสุขทั้งหมดนั้น
โดยควรตระหนักและให้ความสำาคัญกับการกระจายอำานาจให้แก่องค์กรสุขภาพหรือคณะกรรมการ
ด้านสุขภาพอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว และให้องค์กรหรือคณะกรรมการดังกล่าวตลอดจนบุคลากรทางการ
๕๙ Medisave เป็นระบบที่เริ่มนำามาใช้ในประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. ๑๘๘๔) โดยเป็น
ส่วนหนึ่งในโครงการออมเงินเพื่อการรักษาพยาบาล (Medical Saving Scheme) โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการ
หักรายได้บางส่วนเข้าในบัญชี Medisave สำาหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าผ่าตัด หรือ
ค่ารักษากรณีเป็นผู้ป่วยนอก (http://www.moh.gov.sg/content/moh)