Page 91 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 91
๗๗
นอกจากนี้รัฐยังได้มีการกําหนดให้พื้นที่แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันตกเป็นศูนย์กลาง
การผลิตพลังงานของประเทศ และตั้งเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าไว้สูงสุด ๑๗,๒๓๘ เมกะวัตต์ โดยในระยะ
๑๐ ปีแรกของแผนได้มีการวางแผนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงต่าง ๆ ทั้งจากของรัฐและเอกชน
รวมจํานวน ๑๕ หน่วยการผลิต คิดเป็นกําลังการผลิตไฟฟ้ารวม ๑๑,๗๐๐ เมกะวัตต์ รวมทั้งจะให้มีการ
พัฒนาโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าขนาด ๒๓๐ กิโลโวลต์ ระหว่างพื้นที่บางสะพาน ๑-สุราษฏร์ธานี ความยาว
๒๙๓ กิโลเมตร เพื่อเสริมความมั่นคงของสายส่งที่เชื่อมโยงระหว่างภาคกลางและภาคใต้
จนกระทั่งในปี ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อนโยบายการส่งเสริมและ
สนับสนุนการผลิตเหล็กขั้นต้นตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมและ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
เสนอว่า มีความเป็นไปได้ในการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถส่งออกได้ โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนและ
ภาครัฐสนับสนุนด้านการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน นับแต่นั้นมานโยบายและยุทธศาสตร์ของ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ก็ได้ถูกกําหนดให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเหล็กอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ภายใต้
แผนการลงทุนผลิตเหล็กขั้นต้น ของบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จํากัด (มหาชน) ที่มีขนาดการผลิต
๓๐ ล้านตันต่อปี และมูลค่าการลงทุนประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี นอกจากนี้
ยังมีบริษัทเอกชนจากประเทศญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์และลักเซ็มเบอร์ก ที่ให้ความสนใจในการลงทุน
โรงงานถลุงเหล็กต้นน้ํา บริเวณพื้นที่เขาแดง ตําบลกุยเหนือ อําเภอกุยบุรี
ทั้งนี้ทางบริษัท สหวิริยาฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนการลงทุนด้วยการก่อสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ได้แก่ ถนนระยะทาง ๒๐ กิโลเมตร จากท่าเรือบางสะพานไปยังถนนเพชรเกษม
การจัดหากระแสไฟฟ้าขนาด ๒,๐๐๐ เมกะวัตต์พร้อมสายส่ง และการจัดหาแหล่งน้ําเพื่อใช้ในโครงการ
ซึ่งทั้งหมดต้องใช้งบประมาณจํานวนประมาณ ๑๕๐–๒๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยทางบริษัทจะ
จัดหาเองครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังขอให้รัฐสนับสนุนในเรื่องของการอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมของโครงการทั้งหมดด้วย เนื่องจากการดําเนินโครงการทั้ง ๕ ระยะนั้น มีโครงการก่อสร้าง
ขนาดใหญ่ที่ต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมถึง ๖ โครงการ แบ่งเป็น โรงถลุงเหล็ก
๒ โรง ท่าเรือน้ําลึก ๒ ท่า นิคมอุตสาหกรรม ๒ แห่ง หากรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โครงการใดโครงการหนึ่งไม่ผ่านจะส่งผลกระทบกับภาพรวมในการดําเนินโครงการทั้งหมด
รัฐบาลจึงได้วางแผนที่จะช่วยลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานให้แก่อุตสาหกรรมเหล็ก
ขั้นต้นซึ่งมีความต้องการใช้น้ํา และใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมากในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และพื้นที่
ใกล้เคียง เพื่อรองรับการขยายตัว ดังนี้
๑) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีแผนงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใน ๓ พื้นที่
ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวม ๖,๑๐๐ เมกะวัตต์ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก กําลังการผลิต
๗๐๐ เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้านกรูด กําลังการผลิต ๑,๔๐๐ เมกะวัตต์ และโครงการ