Page 89 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 89
บทที่ ๕
ผลการศึกษา
กรณีศึกษาสิทธิชุมชนกับผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
กรณีศึกษาสิทธิชุมชนกับผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้ในการศึกษานี้ ได้มาจากกรณี
ร้องเรียนของชาวบ้านที่มีต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในพื้นที่ ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล ซึ่งการศึกษาในแต่ละจังหวัด
นั้นคณะผู้ศึกษาได้จัดทําเวทีสนทนากลุ่ม จํานวน ๑ ครั้ง เพื่อรวบรวมสถานการณ์ต่าง ๆ ในการละเมิด
สิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหารือเพื่อจัดทําร่างประเด็นข้อเสนอ แล้วจึงจัดให้มีเวที
เชิงปฏิบัติการในแต่ละจังหวัดอีก ๑ ครั้ง เพื่อร่วมกันจัดทําข้อเสนอต่อโครงการแผนพัฒนาภาคใต้ใน
จังหวัดตนเอง หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดให้มีเวทีเชิงปฏิบัติการรวมของทั้ง ๔ จังหวัด เพื่อจัดทําข้อเสนอ
เชิงนโยบายร่วมกัน รวมทั้งเพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิชุมชน ซึ่งผลจากการศึกษาทบทวนข้อมูลด้าน
ยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการภาคใต้ในแต่ละจังหวัด การจัดเวทีสนทนากลุ่ม การประชุมเชิง
ปฏิบัติการในแต่ละจังหวัดและร่วมกัน ๔ จังหวัด สามารถสรุปได้ดังนี้
๕.๑ กรณีศึกษาจากกรณีร้องเรียนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๕.๑.๑ ประจวบคีรีขันธ์ เมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมเหล็กสมบูรณ์แบบและพลังงาน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เป้าหมายของแผนพัฒนาชายฝั่งทะเล
ภาคใต้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ถูกกําหนดให้เป็นเมืองศูนย์กลางเหล็กสมบูรณ์แบบ
และพลังงาน ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก (Western Seaboard Regional
Development Master Plan; WSB) ที่ได้มีการจัดทําโดยสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ โดยได้รับการสนับสนุนการศึกษาจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น
(Japan International Cooperation Agency; JICA) ทั้งนี้ได้มีการวางแผนในการดําเนินงานทั้งหมดไว้
รวมเป็นระยะเวลา ๑๕ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๐–๒๕๕๔ ที่จะพัฒนาให้อําเภอบางสะพาน จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ําและเหล็กครบวงจร และส่งเสริม
ให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทสําคัญในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรในพื้นที่อําเภอ