Page 88 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 88
๗๔
ภาคใต้อยู่ตลอดเวลา แต่การชี้แจงโครงการคลุมเครือไม่ชัดเจน การจัดกระบวนการนโยบายสาธารณะ
แบบมีส่วนร่วมยังไม่มากพอ และภาคประชาสังคมและชุมชนมีความกังวลว่าความขัดแย้งในภาคใต้จะมี
แนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น หากแผนพัฒนาและโครงการต่าง ๆ ปราศจากการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
และการควบคุมอย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิต สุขภาพ
และวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น ฉะนั้นกระบวนการกําหนดแผนพัฒนาตามศักยภาพพื้นที่ของภาคใต้ทั้ง
ในระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ชุมชน จําเป็นต้องวิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ ของการพัฒนา
โดยมีการประเมินผลกระทบและความเสี่ยงอย่างบูรณาการรอบด้าน
สําหรับทิศทางการพัฒนาที่ประชาชนต้องการ จากการทําเวทีสนทนากลุ่มของสถาบันวิจัยสังคม
จุฬา (๒๕๕๑) พบว่าประชาชนในภาคใต้ต้องการรับการพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมที่มี
พื้นฐานเดิมอยู่แล้ว รวมทั้งต้องการได้รับการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ นอกจากนั้นประชาชนยังต้องการกิจกรรมการพัฒนาทางด้าน
เศรษฐกิจในลักษณะที่สามารถก่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยไม่ส่งผลกระทบ
ต่อวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อมด้วย โดยประชาชนต้องการมี
ส่วนร่วมกับการพัฒนาของรัฐในระดับปานกลางถึงมาก โดยรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ประชาชนต้องการ
มากที่สุด คือ การรับรู้แนวคิดและโครงการพัฒนาของรัฐ ในขณะที่ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มสนทนาพบว่า
ตัวแทนภาคประชาชนและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องได้สะท้อนความต้องการมีส่วนร่วมในระดับที่สูงขึ้น
คือ ต้องการมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการร่วมคิดและร่วมวางแผนการพัฒนาพื้นที่ตนเอง