Page 87 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 87
๗๓
๔.๖ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาภาคใต้
เลิศชาย (๒๕๕๖) ได้สังเคราะห์ประเด็นสําคัญของความเป็นธรรมทางสังคมของการพัฒนา
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในแผนพัฒนาภาคใต้ว่า เป็นการพัฒนาที่สะท้อนโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็น
ยิ่งกว่าความไม่เป็นธรรมอีก กล่าวคือ ชุดแผนงานขนาดใหญ่นี้มีการวางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว โดยไม่
คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น และเจ้าของโครงการก็รู้ดีว่ามีผลกระทบ แต่พยายามปกปิด
ไม่ให้ประชาชนรู้ข้อมูล และไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดการดําเนินโครงการต่อสาธารณะ แม้กระทั่ง
นักวิชาการในมหาวิทยาลัยภาคใต้ ยังไม่มีใครรู้เลยว่าจะเกิดโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ไหนบ้าง หากว่า
ต้องการรู้ ก็ต้องไปตามค้นหาเอาเองจากเอกสาร จากนโยบาย จากแผนงานต่าง ๆ หรือที่ไปปรากฏอยู่
ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และแม้แต่โครงการที่มีการดําเนินการในพื้นที่แล้ว ก็
ไม่มีการบอกรายละเอียดโครงการกับประชาชนในพื้นที่ เช่น มีการดําเนินงานโรงงานไฟฟ้าถ่านหินใน
หลายพื้นที่ของภาคใต้ มีเจ้าหน้าที่ลงมาปฏิบัติงาน มีบริษัทรับช่วงที่เป็น sub-contract ลงมาทํางาน
แต่พอประชาชนไปถามการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็จะได้รับคําตอบว่าโครงการยังไม่ทําอะไร
ยังไม่ได้มีแผน หรือบอกไม่หมด นอกจากนี้การดําเนินโครงการก็เป็นแบบแยกส่วนตัดตอนในแต่ละ
หน่วยงาน เพื่อไม่ให้เห็นความเชื่อมโยงว่าเป็นอภิมหาโครงการขนาดใหญ่ คือ แยกกันทํา ที่ทําเช่นนี้ก็
เพื่อไม่ให้ประชาชนมองเห็นภาพรวม การประชาสัมพันธ์ชี้แจงโครงการก็พูดเฉพาะแต่ประโยชน์และข้อดี
ด้านเดียว แต่ไม่พูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม การเคลื่อนไหวที่ภาคใต้มี
บทเรียนมาแล้ว แบบแผนของการดําเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ มีความสลับซับซ้อนเพราะว่ามีการ
วางแผนมาไว้เรียบร้อยแล้ว และยังดําเนินการภายใต้หลักคิดในการโยนให้คนเล็กคนน้อยเป็นผู้แบกรับ
ผลกระทบ ทั้งที่มีโครงการอุตสาหกรรมขึ้นมาเป็นชุดโครงการขนาดใหญ่ โยนภาระให้คนเล็กคนน้อยเป็น
ผู้แบกรับผลกระทบ สังคมไทยเราปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถที่จะผลักดันหลักการที่ว่า “ผู้ดําเนินโครงการ
ต้องเป็นผู้แบกรับผลกระทบที่เกิดขึ้น” ซึ่งสอดคล้องกับการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในภาคใต้ที่
ผ่านมาโดย สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๕๑) ที่สรุปเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ
แนวทางการพัฒนาของภาครัฐจากเวทีสนทนากลุ่มว่า ประชาชนได้ต่อต้านโครงการอุตสาหกรรมหนัก
อย่างไม่มีเหตุผล หากภาครัฐและกลุ่มทุนมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสและเป็นจริง มีการแสดงให้
เห็นถึงผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับโครงการและวิธีการในการควบคุมจัดการอย่างมีระบบ มีการเปิด
โอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ รวมทั้งมีพื้นที่
การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ประสบความสําเร็จมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ภาคประชาชนก็พร้อมที่จะรับฟังและ
ยอมรับการพัฒนาดังกล่าว
ข้อกังวลของประชาชนที่ต่อแผนพัฒนาภาคใต้จากการศึกษาของศยามล (๒๕๕๔) ก็เช่นเดียวกัน
คือ เจ้าของโครงการทั้งรัฐและเอกชนได้มีการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต่าง ๆ ตามแนวทางแผนพัฒนา