Page 54 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 54

๔๐







                         ๔.๒.๓  แผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ ๓
                                ศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาคและธุรกิจปิโตรเคมีระดับโลก

                                การพัฒนาเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงานและขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีลงสู่ภาคใต้

                                หลังจากที่มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ต่อมาอีก ๗ ปี ใน

                  พ.ศ. ๒๕๒๓ สมัยพลเอกเปรม ตินสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อ

                  พัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อ
                  คณะกรรมการดังกล่าวไปเป็นคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก รวมทั้งมีการบรรจุ

                  โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเข้าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๕

                  นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓-
                  ๒๕๓๒) ซึ่งเป็นแผนสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อเพิ่มมูลค่าก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบใน

                  อ่าวไทย

                                การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในระยะเริ่มแรกของประเทศไทยนั้น ดําเนินการโดย

                  การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งและเดินเครื่องโรงแยกก๊าซธรรมชาติ

                  ของประเทศไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ และเป็นผู้ผลักดันหลักด้วยการร่วมทุนกับเอกชนในการจัดตั้ง
                  บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ เพื่อผลิตเอทีลีนและโพรพิลีน จากก๊าซธรรมชาติ เพื่อส่งต่อไปเป็นวัตถุดิบใน

                  การผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอธีลีน โพลีโพรไพลีน และพีวีซี และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐบาลไทยก็ได้

                  ตัดสินใจดําเนินการพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตามมาด้วยการเห็นชอบแผนพัฒนา
                  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ ๒ (๒๕๓๒-๒๕๔๗) ในปี ๒๕๓๑ โดยมุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

                  ให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น มีการเพิ่มกําลังการผลิตสายโอเลฟินส์ และเริ่มพัฒนาการผลิต

                  สายอะโรมาติกส์ ซึ่งใช้แนฟธา เป็นวัตถุดิบด้วย และในช่วงดังกล่าวนี้รัฐบาลได้มีการกําหนดนโยบายการ
                  ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างชัดเจน ได้แก่ การให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุน การ

                  คุ้มครองด้านภาษีนําเข้า การห้ามตั้ง และห้ามขยายโรงงานปิโตรเคมีโดยไม่ได้รับอนุญาต ฯลฯ จนกระทั่งปี

                  พ.ศ. ๒๕๓๘ รัฐบาลได้เปิดเสรีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส่งผลให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศขยายการ
                  ลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นไปจนถึงขั้นปลาย ทําให้การดําเนินงานของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

                  เปลี่ยนแปลงจากบริษัทรายย่อยมาเป็นกลุ่มโรงงานปิโตรเคมีครบวงจรที่มีการผลิตผลิตภัณฑ์หลายชนิด

                  หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในระยะที่ ๑-๒ นั้น ได้แก่
                  คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก คณะกรรมการปิโตรเคมี กระทรวงอุตสาหกรรม และ

                  ภาคธุรกิจเอกชนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

                                หลังจากได้มีการจัดตั้งกระทรวงพลังงานขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ในยุคสมัย

                  นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็น
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59