Page 56 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 56

๔๒







                  วงเงิน ๑๕,๓๓๐,๔๒๕ บาท เป็นระยะเวลารวม ๘ เดือน (ธันวาคม ๒๕๔๖-สิงหาคม ๒๕๔๗) เพื่อ
                  กําหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งศึกษาประเมินมูลค่าเพิ่มของ

                  การนําก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ภายในประเทศมาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

                  การศึกษาแล้วเสร็จเมื่อมกราคม ๒๕๔๘ โดยได้กําหนดกลยุทธ์เป้าหมายสําหรับการพัฒนา
                  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ ๓ ไว้ โดยมีเป้าหมายที่จะ (๑) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซธรรมชาติ และ

                  เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (๒) ขยายการผลิตปิโตรเคมี

                  ในเขตมาบตาพุดให้เกิดเป็นคลัสเตอร์ที่เข้มแข็ง และพัฒนาอุตสาหกรรมบางส่วนที่อําเภอสิชลให้สอดรับ
                  กับโครงการสะพานเศรษฐกิจ (Land  Bridge)  ที่จะเกิดขึ้น โดยเสนอทางเลือกเกี่ยวกับพื้นที่เหมาะสม

                  สําหรับเป็นสถานที่ตั้งคอมเพล็กซ์อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระยะที่ ๓ ที่มีทางเลือกเป็น ๒ ทาง ซึ่งปัจจุบัน

                  การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในระยะที่ ๓ ได้พิจารณาใช้ทางเลือกที่ ๒ โดยได้แยกพื้นที่การพัฒนา
                  คอมเพล็กซ์อุตสาหกรรมปิโตรเคมีออกเป็น ๒ ระยะ คือ


                            -  ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๔๗–๒๕๕๘) ตั้งอยู่ในพื้นที่อําเภอมาบตาพุด จังหวัด
                  ระยอง และพื้นที่ใกล้เคียง โดยจะมี ๒๙ ผลิตภัณฑ์ และ ๓๔ โรงงาน


                            -  ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙–๒๕๖๑) ตั้งอยู่ในพื้นที่เส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน
                  ฝั่งตะวันออก บริเวณอําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้เกิดการสอดรับกับการพัฒนา

                  อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการเป็นศูนย์กลางการค้าน้ํามัน โดยจะมี ๒๒ โรงงาน




                         ๔.๒.๔  แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

                                ๑)  ความเป็นมาของแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (พ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๔๙)


                             สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (๒๕๕๔) และ

                  เพ็ญโฉม สุพจน์ และแก้วตา (๒๕๔๘) ได้จัดทําเอกสารรายงานการศึกษาเรื่องการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง
                  ทะเลภาคใต้ และ เอกสารแผนภูมิภาค–ภาคใต้ สามารถสรุปพัฒนาการความเป็นมาของแผนพัฒนา

                  พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือเซาเทิร์นซีบอร์ด (Southern Seaboard Development Plan, SSB) ได้

                  ดังนี้

                             ก่อนที่จะมีการเริ่มต้นแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในปี ๒๕๓๒ นั้น

                  นับตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการ
                  จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ (Hunting Technical Service) มาทําการศึกษาและวางแผนการใช้

                  ทรัพยากรต่าง ๆ ในภาคใต้  ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น

                  (Japan International Cooperation Agency, JICA) ได้ทําการศึกษาวางแผนพัฒนาภาคใต้ตอนบนใน
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61