Page 50 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 50
๓๖
(๒) แนวทางการพัฒนาภาคใต้ ๕-๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๖๕)
- กระจายแหล่งผลิตพลังงานในพื้นที่ให้เหมาะสมในระดับท้องถิ่น ลดระยะทาง
และการสูญเสียพลังงานในการเชื่อมโยงและขนส่ง โดยคํานึงถึงคุณภาพชีวิตและผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น
- กําหนดผังและมาตรการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน โรงกลั่นน้ํามัน
โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ระบบขนส่งเชื้อเพลิง คลังน้ํามัน ท่าเรือขนส่งน้ํามัน โรงไฟฟ้า และระบบสายส่ง
ในพื้นที่ตามผัง รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน ท่อส่งก๊าซธรรมชาติและระบบขนส่งน้ํามัน
- เสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อลดการพึ่งพิงหรือลดการ
นําเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ อันจะทําให้การอนุรักษ์พลังงานเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเพิ่มจํานวน
และคุณภาพของบุคลากรให้เพียงพอที่จะพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีขึ้นมาเอง และจะต้องส่งเสริมการ
เรียนการสอนและห้องปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงานในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ระดับอุดมศึกษาและระดับสายอาชีพ
(๓) แนวทางการพัฒนาภาคใต้ ระยะ ๑๕-๓๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐)
- ประสานความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการพัฒนาแหล่ง
ผลิต การจัดหา เชื่อมโยงและขนส่งพลังงาน ตลอดจนเร่งรัด เจราจา ทําความตกลง เพื่อกําหนดแนว
ทางการพัฒนาและใช้ประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อน พื้นที่คาบเกี่ยว และพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่าง
ประเทศ
- พัฒนาโครงการท่อก๊าซอาเซียน (Trans ASEAN Gas Pipeline) และโครงข่าย
เชื่อมโยงระบบไฟฟ้ากับประเทศอาเซียน (ASEAN Power Grid) อย่างต่อเนื่อง
- ปรับพื้นที่ภาคใต้ให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายพลังงาน (Energy Trading Hub)
โดยปรับโครงสร้างและบทบาทจากผู้ซื้อเป็นผู้ค้าพลังงานในอนาคต และปรับแนวทางการพัฒนาตามที่
กําหนดไว้ในแผนงานสะพานเศรษฐกิจพลังงาน (Strategic Energy Land Bridge, SELB) รวมทั้งลดขนาด
โครงการและปริมาณการขนส่งน้ํามันลง เพื่อปรับมาใช้การขนส่งโดยระบบราง และโครงข่ายถนนที่
พัฒนาขึ้นใหม่ ทดแทนการขนส่งด้วยระบบท่อซึ่งใช้งบประมาณลงทุนสูง
(๔) แนวทางการพัฒนาภาคใต้ ระยะ ๓๐-๕๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๘๑-๒๖๐๐)
- นโยบายเชิงรุกในการพัฒนา ลงทุนสร้างฐานแหล่งผลิตและแหล่งทรัพยากร
ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สัมปทาน การร่วมทุน ในการค้าขายพลังงาน หรือส่งกลับโดยตรงเป็นทางเลือก
ขยายการสํารองพลังงาน เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านพลังงาน