Page 55 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 55

๔๑







                  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จึงได้มีการกําหนดนโยบายการปรับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง
                  พลังงานของภูมิภาค (Energy Trading  Hub)  และเป็นแหล่งรวมตลอดจนแหล่งกระจายพลังงานของ

                  ภูมิภาค ทั้งด้านไฟฟ้า น้ํามัน และก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีให้สอดคล้อง

                  กับการพัฒนาพลังงานของประเทศ โดยให้จัดทําแผนบูรณาการระหว่างแผนพลังงานกับแผน
                  อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และกําหนดให้เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของกระทรวงพลังงานที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้

                  เศรษฐกิจขยายตัวตามเป้าหมายของรัฐบาล จึงทําให้กระทรวงพลังงานกลายเป็นหน่วยงานหลักที่

                  รับผิดชอบและมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา
                  คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "ยุทธศาสตร์พลังงานครั้งที่ ๑  พลังงานเพื่อการแข่งขันของประเทศไทย"

                  เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๖ ซึ่งกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานของประเทศเป็น ๔ ยุทธศาสตร์หลัก

                  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพลังงานของประเทศให้เกิดความมั่นคง และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพใน
                  การแข่งขันของประเทศ


                                สําหรับยุทธศาสตร์การปรับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค ได้กําหนด
                  เป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายพลังงาน (Energy Trading Hub)  รวมทั้งพัฒนาให้เป็น

                  ธุรกิจปิโตรเคมีระดับโลก ตามกลไกและมาตรการต่าง ๆ ที่สําคัญ ดังนี้

                                ๑)  ปรับโครงสร้างและบทบาทของประเทศไทยจากผู้ซื้อไปเป็นผู้ค้าพลังงานในอนาคต

                  และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนร่วมระหว่างประเทศผู้ใช้และผู้ผลิตน้ํามัน เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และ

                  อินเดีย เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาค

                                ๒)  ดําเนินมาตรการที่จะลดหรือยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษในการซื้อน้ํามันดิบใน

                  ตลาดโลกด้วยการจัดตั้งเขต Export Free Zone (EFZ) เป็นเขตพื้นที่ส่งเสริมการส่งออกน้ํามัน

                                ๓)  พัฒนาระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า ระบบเครือข่ายท่อก๊าซ และระบบเครือข่าย

                  พลังงานอื่น ๆ เพิ่มการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้เต็มประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งน้ํามัน

                  ทางท่อที่ก่อสร้างไว้แล้วและเชื่อมโยงระบบท่อขนส่งน้ํามันในภาคเหนือ-อีสาน และผลักดันระบบถนน
                  รถไฟ และการเดินเรือ เชื่อมโยงภูมิภาคจนถึงจีนตอนใต้ เพื่อขยายตลาดพลังงานสู่ประเทศเพื่อนบ้าน


                                ๔)  การพัฒนาเส้นทางของยุทธศาสตร์พลังงานภาคใต้ (Southern Strategic Energy
                  Land Bridge, SELB) เชื่อมโยงการผลิต และการขนส่งน้ํามันจากตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ออกสู่เอเชีย

                  ตะวันออก โดยใช้ระบบท่อขนส่งน้ํามัน และสร้างระบบคลังน้ํามันสํารอง


                                ๕)  ผลักดันความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตในประเทศ เพื่อสร้างธุรกิจปิโตรเคมีในระดับโลก
                  ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๖ สํานักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ก็ได้จัดจ้างสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

                  ดําเนินการศึกษาและจัดทําแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๖๑) ด้วย
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60