Page 59 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 59
๔๕
สาระสําคัญของแผนและเป้าหมายหลักการพัฒนาเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน คือ
การสร้างเส้นทาง ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เชื่อมระหว่างฝั่งทะเลตะวันตก (ทะเลอันดามัน)
กับฝั่งทะเลตะวันออก (อ่าวไทย) เพื่อเป็นทางเลือกของการขนส่งน้ํามันสําหรับผู้ผลิตในตะวันออกกลาง
แอฟริกาและเอเชียตะวันออก นอกเหนือจากการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกาและเส้นทางอื่น ๆ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับวัตถุดิบและเกิดความสะดวกมากขึ้น ตามแผนคาดการณ์ว่า
โครงการนี้จะสามารถขนส่งน้ํามันดิบ ประมาณวันละ ๕๐๐,๐๐๐–๑,๐๐๐,๐๐๐ บาร์เรล และมีถังเก็บที่
สํารองการจ่ายน้ํามันได้ประมาณ ๕ วัน ทั้งทางฝั่งตะวันตกและตะวันออก ซึ่งระยะแรกมีแผนให้เริ่มจาก
การเป็น Trade Crude และพัฒนาเป็น Trade Product ในภายหลัง โดยองค์ประกอบสําคัญและ
ระยะเวลาการพัฒนาตามแผนมีดังนี้
- ระยะเร่งด่วน ภายในกลางปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คือ การจัดทําแผนปฏิบัติการและ
กลยุทธ์การพัฒนา จัดหาผู้ร่วมทุน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- ระยะต่อเนื่อง ๑–๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๗–พ.ศ. ๒๕๕๑) สร้างระบบท่อส่งลําเลียง
น้ํามัน ขนาด ๓๘–๔๘ นิ้ว โดยวางขนานไปกับมอเตอร์เวย์สายกระบี่-ขนอม ระยะทาง ๒๓๖ กิโลเมตร
คลังน้ํามัน และทุ่นจอดเรือนอกชายฝั่ง ภายในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และพัฒนาระบบปลอดภาษี ระบบเมือง
ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๑
- ระยะยาว ๕ ปีขึ้นไป (หลังปี พ.ศ. ๒๕๕๑) สร้างโรงกลั่นน้ํามันขนาด
๓๐๐,๐๐๐ บาร์เรล/วัน
สําหรับสถานที่ตั้งของโครงการที่มีการสรุปเมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คือ บริเวณ
ปลายท่อน้ํามันและบริเวณก่อสร้างทุ่นจอดเรือของฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่บ้านทุ่งมะพร้าว อําเภอท้ายเหมือง
จังหวัดพังงา ส่วนฝั่งตะวันออก คือ ตําบลทุ่งไส อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช สําหรับพื้นที่พัฒนา
ของฝั่งทะเลอันดามันนั้นได้กําหนดใหม่ห่างจากจุดเดิม คือ บ้านทับละมุ ประมาณ ๖-๗ กิโลเมตร
(รูปภาพที่ ๙) ทั้งนี้เพื่อต้องการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเลี่ยงจุดยุทธศาสตร์ฐานทัพเรือ รายละเอียด
การพัฒนาของแต่ละฝั่ง ได้แก่
- ฝั่งตะวันตก ภายใต้การศึกษาแนวถนนของกรมทางหลวงและแนวท่อขนส่ง
น้ํามันโดยบริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จํากัด (มหาชน) แผนการที่ออกแบบไว้จะมีการขนถ่าย
น้ํามันดิบจากเรือบรรทุกน้ํามันขนาดใหญ่ ๓๐๐ DWT โดยจอดเทียบทุ่นลอยขนถ่ายน้ํามันดิบที่ตั้งอยู่
ห่างจากฝั่งประมาณ ๕ กิโลเมตร ผ่านท่อใต้ทะเลมายังถังเก็บน้ํามันสํารองขนาดใหญ่ ซึ่งเพียงพอสําหรับ
สํารองการขนถ่ายน้ํามัน ๕ วัน ที่จะอยู่ห่างจากฝั่งเข้ามาประมาณ ๕–๖ กิโลเมตร การพัฒนา