Page 51 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 51

๓๗







                            -  กระจายชนิดและรูปแบบการใช้ทรัพยากรในการผลิตพลังงานอย่างเหมาะสม

                             ๓)  ผังกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาภาคใต้ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๕)


                                สําหรับผังกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาภาคใต้ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๕๕) ได้มีการ
                  กําหนดกลยุทธ์ในเรื่องการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ให้เป็นประตูการค้าสู่ภูมิภาค โดยการจัดทําผัง

                  กลยุทธ์ มีแนวทางการพัฒนาที่สําคัญที่จะพัฒนาเมืองศูนย์กลาง ตามแนวสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยง
                  ระหว่างชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตก  ให้เป็นฉนวนเศรษฐกิจด้านการค้า การท่องเที่ยว และการ

                  ขนส่งในระดับนานาชาติ สนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ทั้งในสาขาบริการ อุตสาหกรรม

                  พลังงาน และอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร โดยนําความคิดของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค
                  เช่น ความร่วมมือในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ความร่วมมือในพื้นที่อ่าวเบงกอล ผนวกกับจุดเด่นของที่ตั้ง

                  ภาคใต้ ซึ่งมีแนวทางพัฒนาที่สําคัญดังนี้


                           (๑) จัดทําผังพัฒนาพื้นที่สะพานเศรษฐกิจลักษณะบูรณาการในพื้นที่เป้าหมาย ดังนี้

                            -  พื้นที่สะพานเศรษฐกิจตอนบนระนอง-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร เน้นการพัฒนา

                  ความเชื่อมโยงกิจกรรมท่องเที่ยว การประมง อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรและไบโอดีเซล

                            -  พื้นที่สะพานเศรษฐกิจตอนกลางกระบี่-พังงา-นครศรีธรรมราช เน้นพัฒนาการ

                  ท่องเที่ยว อุตสาหกรรมปาล์มน้ํามัน-พลังงานหมุนเวียน อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

                            -  พื้นที่สะพานเศรษฐกิจตอนล่างสตูล-สงขลา จัดทําผังพัฒนาพื้นที่ท่าเรือน้ําลึก

                  ปากบาราและเขตประกอบการหลังท่า โดยเน้นอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรและอาหาร พัฒนาการ

                  ท่องเที่ยวและการค้าการบริการ

                           (๒) ปรับปรุงโครงข่ายถนนด้วยระบบทางหลวงแผ่นดินสายหลัก ขนาด ๔ ช่องจราจร

                  ช่วงชุมพร-ระนอง

                           (๓) พัฒนาและปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงท่าเรือน้ําลึกฝั่งอันดามัน บริเวณจังหวัด

                  สตูลกับหาดใหญ่-สงขลา

                           (๔) ก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโยง สงขลา-หาดใหญ่-ท่าเรือฝั่งอันดามัน บริเวณจังหวัด

                  สตูล

                           (๕) ก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกฝั่งอันดามัน บริเวณจังหวัดสตูล พร้อมตั้งเขตประกอบการ

                  หลังท่า และสถานีรวบรวมและกระจายสินค้าบริเวณท่าเรือ สนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและ
                  จัดมาตรการส่งเสริมการลงทุน


                           (๖) ศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกสงขลาแห่งที่ ๒
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56