Page 57 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 57
๔๓
ระดับอนุภาค และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank, ADB)
ได้มาทบทวนรายงานการศึกษาขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อเตรียมแผนปฏิบัติ
การพัฒนาภาคใต้ตอนบน
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรในยุคสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๓๒ ที่อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการนําเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ต่อคณะรัฐมนตรี และ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการพัฒนา "สะพานเศรษฐกิจ" เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งฝั่งทะเลอันดามัน
และอ่าวไทย ด้วยระบบคมนาคมขนส่งร่วมแบบผสมผสาน ประกอบด้วยระบบถนน รถไฟ ท่อน้ํามัน
ระหว่างฝั่งอันดามัน (กระบี่) และอ่าวไทย (ขนอม) และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ
ในการจัดทําแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาพื้นที่
ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในระยะต่อมา
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้จัดจ้างกลุ่ม
บริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศและประเทศไทย จํานวน ๔ บริษัท ได้แก่ บริษัท Bechtel (สหรัฐอเมริกา)
บริษัท Nippon Koei (ญี่ปุ่น) บริษัท AEC (ไทย) และ บริษัท SEATEC (ไทย) จัดทําแผนแม่บทโครงการ
พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยมีระยะเวลาการศึกษาระหว่าง มกราคม ๒๕๓๔-มิถุนายน ๒๕๓๕
และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบ แผนแม่บทการพัฒนา
พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ เมื่อ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๖ ที่จะสร้าง "สะพานเศรษฐกิจ" เชื่อมโยงสองฝั่งทะเล
ระหว่างอันดามัน (กระบี่)-อ่าวไทย (ขนอม) และการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ํามันและปิโตรเคมีให้เป็น
อุตสาหกรรมแกนนําขนาดใหญ่ของภาคใต้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ซึ่ง
แผนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลยุคนายชวน หลีกภัย เมื่อ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๖
สาระสําคัญของแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ประกอบด้วย
(๑) ระบบการขนส่งร่วมแบบผสมผสาน ได้แก่ ท่าเรือน้ําลึก พร้อมทั้งท่าเทียบเรือ
น้ํามันทั้งสองฝั่ง ซึ่งเชื่อมต่อด้วยทางด่วน ทางรถไฟและท่อน้ํามัน
(๒) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ํามัน (Oil-based Industry) เพื่อใช้ประโยชน์
จากน้ํามันดิบที่ขนส่งโดยท่อตามแนวสะพานเศรษฐกิจ
(๓) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับท่อก๊าซ (Gas-based Industry) โดยใช้ก๊าซจาก
แหล่งในอ่าวไทยหรือจากแหล่งอื่นที่จะหามาได้