Page 58 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 58

๔๔







                            (๔) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเล (Shipping-based Activities) ซึ่ง
                  อาจรวมถึงการบรรจุภัณฑ์ การเดินเรือในเส้นทางสายรอง และการขนส่งสินค้าข้ามคอคอด


                            (๕) อุตสาหกรรมแปรรูปและอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ทรัพยากรท้องถิ่น และ
                  หรือวัตถุดิบที่นําเข้า ซึ่งจะมีที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่ติดกับท่าเรือน้ําลึก หรือสถานที่ที่เหมาะสมอื่น ๆ


                            (๖) การพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มความได้เปรียบของพื้นที่ในการดึงดูดให้เกิดกิจการ
                  ต่อเนื่องจากการขนส่งทางทะเล อุตสาหกรรม การค้าและธุรกิจต่าง ๆ


                             รัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมาต่างก็ให้ความสําคัญและสานต่อโครงการนี้ แต่เนื่องจากเป็น

                  แผนงานขนาดใหญ่ ต้องใช้งบประมาณจํานวนมาก การดําเนินการจึงไม่คืบหน้าตามแผน เพราะขาด
                  งบประมาณการลงทุนเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศประสบวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ.

                  ๒๕๔๐ การพัฒนาในภาพรวมก็ชะลอไป มีเพียงแต่การศึกษาของหน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น การ

                  พัฒนาธุรกิจน้ํามัน การจัดหาแหล่งน้ํา การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามก็โครงการบางส่วนที่มี
                  การดําเนินการล่วงหน้าไปบ้างแล้ว อาทิเช่น โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบงกช–เอราวัณ–ขนอม

                  โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่อําเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ

                             อย่างไรก็ตาม ในที่สุดโครงการก็มีการขับเคลื่อนรุดหน้าอีกครั้งในคณะรัฐมนตรีชุด

                  นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หลังจากมีการตั้งกระทรวงพลังงานในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ภายใต้การ

                  ปฏิรูประบบราชการใหม่ โดยที่กระทรวงพลังงานมีอํานาจและภาระหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดหา
                  พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน ซึ่งครอบคลุมการบริหารจัดการพลังงานทุกสาขา ทั้งไฟฟ้า น้ํามัน

                  และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งก๊าซธรรมชาติและน้ํามันเป็นวัตถุดิบหลักของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

                  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนแรก นายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุรีย์เดช มีนโยบายที่จะพัฒนา
                  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีให้สอดคล้องกับการพัฒนาพลังงานของประเทศ จึงได้จัดทําแผนบูรณาการแผน

                  พลังงานและแผนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และกําหนดให้ปิโตรเคมีเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของกระทรวง

                  พลังงานที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัว และเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๖ คณะรัฐมนตรีก็ได้มี
                  มติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค ซึ่งเป็นหนึ่งใน

                  “ยุทธศาสตร์พลังงานเพื่อการแข่งขันของประเทศไทย” ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดยมีโครงการที่

                  เป็นหัวหอกสําคัญ ได้แก่ โครงการจัดตั้งศูนย์กลางการค้าน้ํามันที่ศรีราชา (Sriracha  Hub)  โครงการ
                  เส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน (Strategic Energy Land bridge, SELB) และโครงการจัดตั้งคอมเพล็กซ์

                  ปิโตรเคมี ระยะที่ ๓ ซึ่งโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน ก็คือการพัฒนา “สะพานเศรษฐกิจ” และ

                  ส่วนต่อเนื่อง ที่ถือเป็นโครงการหลักตามแผนเซาเทิร์นซีบอร์ดนั่นเอง
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63