Page 28 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 28
๑๔
เศรษฐกิจ กล่าวคือจะต้องให้ความสําคัญแก่การเปิดโอกาสสําหรับความเป็นธรรม การมีสิทธิและมีส่วน
ร่วมของประชาชนที่จะตัดสินใจในสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อการดํารงชีวิตของพวกเขา ส่วนผลลัพธ์นั้น
นอกจากต้องคํานึงถึงการตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น การขจัดความอดอยาก
หิวโหย โรคภัยไข้เจ็บและความไม่รู้หนังสือ แต่ก็ยังต้องให้มีทรัพยากรเหลือเพียงพอต่อผู้คนในรุ่นหลังอีก
ด้วย ยิ่งความขัดแย้งในกระบวนการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติเข้มข้นขึ้น สิทธิการพัฒนาก็ขยายตัว
เชื่อมโยงเข้ากับบทบาทการต่อสู้ของชุมชนเพื่อพิทักษ์วิถีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ยิ่งอํานาจ
ของทุนจากต่างแดนเข้ามาครอบงําทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอื่น ๆ มากขึ้น สํานึกในกระแสความ
เป็นตัวของตัวเองที่จะเป็นอิสระจากการครอบงําก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้น
๓.๒.๓ สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี
แนวคิดในเรื่องสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี ปรากฏในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งได้รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในอันที่จะแสวงประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเสรีและเต็มที่ โดยที่ประชาชนจะต้องไม่ถูกลิดรอนวิถีการยังชีพของตนเอง
การประชุมที่กรุงสต็อกโฮม ในปี ค.ศ. ๑๙๗๒ มีการสร้างความร่วมมือระดับระหว่างประเทศในการ
คุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเกิดเป็นหลักการข้อ ๑ ของปฏิญญาสต็อกโฮมว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของ
มนุษย์ (The Stockholm Declaration on the Human Environment) รวมทั้งได้วางแนวทางว่า
มนุษย์มีสิทธิขั้นพื้นฐานโดยเสรีในการใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นสุข โดยทุกคน
จะต้องได้รับสิทธิดังกล่าวอย่างเท่าเทียมและพอเพียง ทั้งนี้มนุษย์มีหน้าที่ในการปกป้องและเพิ่มพูน
สภาวะแวดล้อมเพื่อการดํารงชีวิตในปัจจุบันและเพื่อประชากรในอนาคต
หลักการดังกล่าวยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติและสิทธิของบุคคลที่จะ
ได้ใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยถือว่าบุคคลย่อมต้องมีทั้งสิทธิและหน้าที่ในเวลาเดียวกัน เพื่อให้การใช้
ประโยชน์ในสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นไปโดยเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์ทุกคน นอกจากนี้ ยังให้รัฐมีหน้าที่ในการ
ควบคุมการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติภายในดินแดน และรัฐจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่
ได้รับผลเสียหายจากมลภาวะและสภาพแวดล้อมที่ถูกทําลายไปด้วย
นอกจากแนวคิดในการคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อมของประชากรแล้ว ในทางกฎหมาย
ระหว่างประเทศยังมีแนวคิดที่สนับสนุนหลักสิทธิมนุษยชนในสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งแม้จะมิได้ปรากฏว่าจะมี
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันโดยตรง แต่ก็เป็นที่มาของหลายแนวคิดในการรักษาและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ที่เชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนในสิ่งแวดล้อมที่ดี หลักการดังกล่าวที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่
- หลักมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ (Common Heritage of Mankind) ที่ได้กล่าว