Page 27 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 27

๑๓







                  ท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่จําเป็นต้องหาหรือต้องการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับธรรมชาติและโครงสร้างของ
                  ทรัพยากร อีกทั้งยังเกี่ยวกับบรรทัดฐานและจารีตประเพณีของผู้ใช้ทรัพยากร เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่

                  หลากหลายตามท้องถิ่นของผู้ใช้ทรัพยากรนั้น ดําเนินมาด้วยประสบการณ์ของท้องถิ่นเองมาเป็นเวลา

                  หลายปี หลายทศวรรษ มีการรับรู้และความผูกพันกับข้อมูลข่าวสารตลอดเวลาอยู่แล้ว ในขณะที่อํานาจ
                  จากภายนอกขาดข้อมูล ขาดความเข้าใจ รวมทั้งขาดความผูกพันกับการดํารงชีวิตอยู่ด้วยกับทรัพยากร

                  นั้น ซึ่งยากที่จะสามารถออกแบบสถาบันเพื่อดูแลจัดการให้มีการใช้ทรัพยากรที่เต็มไปด้วยความ

                  หลากหลายในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม จึงจําเป็นต้องยอมให้ท้องถิ่นจัดการทรัพยากรด้วยตนเอง
                  ในลักษณะที่หลากหลายและเป็นขนาดย่อยสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นทั้งกายภาพและวัฒนธรรม




                         ๓.๒.๒  สิทธิในการพัฒนา


                              สิทธิในการพัฒนา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานง
                  ของตนเองรวมทั้งมีพัฒนาการที่เป็นกระแสเดียวกัน ซึ่งสิทธิในการพัฒนาเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่

                  ได้บัญญัติไว้ทั้งในกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่าประเทศว่า

                  ด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
                  วัฒนธรรม ทั้งนี้องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสําคัญเรื่องสิทธิมนุษยชนกับการพัฒนานับตั้งแต่มีการ

                  ก่อตั้ง และในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ สมัชชาทั่วไปสหประชาชาติ ได้มีมติรับรองปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการ

                  พัฒนาว่าเป็น สิทธิมนุษยชนด้านหนึ่งที่ไม่อาจเพิกถอนได้ ด้วยเหตุว่ามนุษย์ทุกคนและประชาชาติทั้งปวง
                  มีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมให้การสนับสนุน และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

                  และการเมือง

                              กระบวนทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนา โดยเฉพาะมิติของสิทธิมนุษยชนได้ก้าวมาสู่ด้านของ

                  การให้ความสําคัญกับสันติภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความยั่งยืน ตลอดจนการคํานึงถึงความเป็น

                  ธรรมและมวลมนุษย์รุ่นต่อไป แนวทางของสิทธิในการพัฒนาจึงเป็นการพัฒนาโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง
                  และมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความเป็นดีอยู่ดีของประชาชนและปัจเจกทุกคนอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของ

                  การมีส่วนร่วมในการพัฒนา รวมถึงการได้รับการกระจายผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมกัน

                  และการเพิ่มศักยภาพและทางเลือกให้กับมนุษย์ทุกคน

                              สิทธิในการพัฒนายังให้ความสําคัญอย่างมากกับการลดความยากจน คํานึงถึงผู้หญิงให้

                  มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา การพึ่งพาตนเอง สิทธิในการกําหนดเจตจํานงของประชาชนและ
                  รัฐบาล รวมถึงการปกป้องสิทธิต่าง ๆ ของชนพื้นเมืองดั้งเดิม ความหมายของสิทธิในการพัฒนาจึงก้าว

                  พ้นไปจากการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่มุ่งเน้นเรื่องการกระจายความเจริญเติบโตทาง
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32