Page 30 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 30

๑๖







                  สําหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและครอบครัว มาตรฐานดังกล่าว ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม
                  ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล บริการสังคมที่จําเป็น และหมายรวมถึงสิทธิในความมั่นคงจากกรณี

                  ว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เป็นหม้าย ชราภาพ หรือขาดปัจจัยในการเลี้ยงชีพอื่นใด

                                กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ก็ระบุชัดถึงการ

                  รับรองสิทธิของทุกคนในการมีมาตรฐานทางสุขภาพทั้งทางกายและทางใจให้ดีที่สุดเท่าที่จะทําได้ พร้อม

                  กับระบุสิ่งที่รัฐจะต้องดําเนินการเพื่อเป็นหลักประกันให้สิทธินี้บรรลุผลไว้หลายประการ รวมถึงเรื่องการ
                  บํารุงอนามัยทุกๆ ด้านทางสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมให้ดีขึ้น ทํานองเดียวกันในส่วนของมาตรฐาน

                  การครองชีพก็มีการระบุอย่างชัดเจนถึงการปฏิรูประบบแบ่งปันที่ดินในทางที่จะเอื้อให้เกิดผลสําเร็จ

                  ในการพัฒนา รวมทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

                                ด้วยหลักการอันกว้างขวางแห่งข้อบัญญัติข้างต้นนี้ ทําให้มีการตีความและจําแนกเป็น

                  สิทธิด้านอื่น ๆ ตามมาอีกจํานวนมาก ที่สําคัญได้แก่ สิทธิในน้ํา (Rights to Water) สิทธิในที่ดิน (Rights
                  to land) สิทธิในอากาศบริสุทธิ์ (Rights to clean air) สิทธิที่จะมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม (Rights to

                  adequate housing) และสิทธิที่จะมีอาหารที่เหมาะสม (Rights to adequate food) เป็นต้น ทั้งนี้

                  ด้วยเหตุผลว่า ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสําคัญที่ขาดไม่ได้ในการที่จะธํารงมาตรฐาน
                  การครองชีพที่ดี ขณะเดียวกันการจะมีมาตรฐานทางสุขภาพที่ดีก็ยอมขึ้นกับปัจจัยเหล่านี้ด้วย




                         ๓.๒.๕  สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นการแสดงออก

                                และการรับหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

                                ทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และกติการะหว่างประเทศ

                  ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ต่างระบุถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การ

                  แสดงออก และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยที่สิทธิดังกล่าวนี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นโดย
                  ปราศจากการสอดแทรก ตลอดจนสิทธิที่จะแสวงหาหรือแจ้งข่าวและความคิดเห็น ทั้งด้วยวาจา ลาย

                  ลักษณ์อักษร การตีพิมพ์ศิลปะหรือรูปแบบอื่นใด ผ่านสื่อต่าง ๆ ได้อย่างมิต้องคํานึงถึงเขตแดนด้วย


                                ในรายงานการศึกษาเรื่องปัญหาการสื่อสาร “หลายเสียง โลกเดียวกัน”    (Many
                  Voices, One World  ๑๙๘๐)  ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับสิทธินี้ไว้ว่า สิทธิในการสื่อสารเป็นการขยาย

                  ขอบเขตของเสรีภาพและประชาธิปไตยในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าเรื่องสิทธิในการรับรู้

                  ข้อมูลข่าวสารหรือการรับสาร ทั้งนี้ทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา มนุษย์ได้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการพูด เสรีภาพ
                  ในหนังสือพิมพ์ ให้ได้การสื่อสารที่เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ในแง่มุมใหม่นี่ก็คือส่วนหนึ่งของเรื่องการ

                  สื่อสารสองทาง ซึ่งเป็นการเปิดให้มีการเข้าถึงและมีส่วนร่วม
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35