Page 33 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 33

๑๙







                         ๓.๓.๒  บทบัญญัติอื่น ๆ ว่าด้วยสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม

                                บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมมีหัวใจสําคัญที่สิทธิชุมชน ซึ่งได้บัญญัติไว้ใน

                  มาตรา ๖๖ และ ๖๗ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  พุทธศักราช ๒๕๕๐ ฉบับนี้ ก็ยังมีบทบัญญัติอีกหลายประการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนใน

                  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์จาก

                  ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ทั้งยังมีบทบัญญัติที่ให้ความสําคัญแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย
                  กําหนดให้ต้องกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ

                  อันรวมถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

                                ๑)  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  การอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในส่วนที่ ๘ ว่าด้วยแนวนโยบายด้าน

                  ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้
                  บัญญัติให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ดังนี้


                                มาตรา ๘๕ (๑) ประชาชนต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกําหนดหลักเกณฑ์

                  และมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยให้คํานึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้ง
                  ผืนดิน ผืนน้ํา วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นและการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ


                                มาตรา ๘๕ (๔) รัฐต้องจัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําและ
                  ทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม  โดยต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน

                  การสงวน บํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่าง

                  สมดุล

                                มาตรา ๘๕ (๕) รัฐต้องดําเนินการ ส่งเสริม  บํารุงรักษา  และคุ้มครองคุณภาพ

                  สิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมและกําจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย
                  สวัสดิภาพ  และคุณภาพชีวิตของประชาชน  โดยประชาชน  ชุมชนท้องถิ่น  และองค์กรปกครองส่วน

                  ท้องถิ่น ต้องมีส่วนร่วมในการกําหนดแนวทางการดําเนินงาน


                                ๒)  การกระจายอํานาจและการมีส่วนร่วมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ
                  ส่งเสริมและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญได้ให้ความสําคัญต่อการกระจาย

                  อํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการคุ้มครองดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี

                  บัญญัติไว้ในหมวด ๑๔ ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่นในมาตรา ๒๙๐ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี
                  อํานาจหน้าที่ส่งเสริมและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งในเขต

                  พื้นที่และการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบํารุงรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการพิจารณาโครงการนอกเขต
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38