Page 24 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 24

๑๐







                  อนุญาตให้แต่ละเฉพาะครัวเรือนที่แต่งงานใหม่และยากจนเท่านั้นจึงจะมีสิทธิตัดไม้เพื่อใช้ส่วนตัว
                  ในขณะที่ครัวเรือนที่มีฐานะดีจะไม่ได้สิทธิอันนั้น


                                สิทธิชุมชนจึงเป็นทั้งความสัมพันธ์เชิงอํานาจ ความชอบธรรม และฐานคิดในการแสดง
                  ตัวตนของชุมชนต่าง ๆ ในสังคมที่หลากหลายมิติซับซ้อนมีพลวัตร และเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่

                  สนับสนุนให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถระดมความคิดความร่วมมือในการพัฒนากฎเกณฑ์ของชุมชนอย่างมี

                  ความชอบธรรมในสังคม นอกจากนี้ลักษณะพลวัตรของสิทธิก็มีนัยสําคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมการมี
                  ส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับรากหญ้าและประชาธิปไตยทางตรง

                  เพราะช่วยเปิดพื้นที่ทางสังคมพร้อมกับลดพื้นที่ของภาครัฐลง โดยการให้สิทธิชุมชนแก่กลุ่มต่าง ๆ ใน

                  สังคมสามารถเข้าร่วมสร้างสรรค์ประชาสังคมและธรรมาภิบาล ด้วยการพัฒนาอํานาจตรวจสอบและ
                  ถ่วงดุลกันให้เกิดเป็นจริงได้ในรูปแบบต่าง ๆ (ทรงวุฒิ ศรีวิไล ๒๕๕๐,  อานันท์ กาญจนพันธุ์ ๒๕๔๓,

                  โสภารัตน์ จารุสมบัติ ๒๕๕๑, สวรินทร์ เบ็ญเด็มอะหลี ๒๕๕๔)




                         ๓.๑.๒  สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                              คําว่า “สิทธิชุมชน” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลซึ่งรวมตัวกันเป็นชุนชน ได้รับการ

                  บัญญัติรับรองขึ้นเป็นครั้งแรก ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งเป็น

                  รัฐธรรมนูญที่ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทํามากที่สุด ทั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็นจาก
                  ประชาชน และการจัดประชาพิจารณ์ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ  โดยบทบัญญัติมาตรา ๔๖ และ ๕๖

                  ได้ยอมรับสิทธิของบุคคลที่รวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี

                  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และใช้สิทธิในการมีส่วนร่วมใน
                  การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและ

                  ยั่งยืน รวมทั้งได้รับรองสิทธิของบุคคลในการมีส่วนร่วมกับรัฐในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ การบํารุงรักษาและ

                  ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองส่งเสริมและรักษา
                  คุณภาพสิ่งแวดล้อม แต่รัฐธรรมนูญก็บัญญัติว่าสิทธิดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทํา

                  ให้ยังมีปัญหาที่จะนํามาใช้ทางปฏิบัติในการรับรองสิทธิของชุมชน

                             รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้มีการยอมรับสิทธิชุมชนมากขึ้น

                  โดยได้ตัดเงื่อนไขที่กําหนดให้ต้องมีกฎหมายมารองรับออกไป จึงเป็นการยอมรับสิทธิชุมชนเหนือ

                  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้นมากกว่าสิทธิของรัฐและสิทธิของเอกชนที่มีมาแต่เดิม รวมทั้งทําให้
                  ประชาชนสามารถใช้สิทธิชุมชนได้โดยไม่ต้องรอให้มีการออกกฎหมายต่าง ๆ เสียก่อน นอกจากนี้ยังมี

                  การคุ้มครองสิทธิชุมชนโดยบัญญัติให้โครงการที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง จะต้องมี
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29