Page 23 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 23
๙
ธรรมชาตินี้ จึงไม่ต้องอิงอาศัยการรับรองโดยกฎหมายที่รัฐกําหนดขึ้น แต่มีฐานะตัวตนความเป็นชุมชนที่
รับรู้รับรองกันว่ามีอยู่เองและย่อมมีสิทธิได้โดยสภาพไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นในรูปนิติบุคคลหรือตามธรรมชาติ
และในแง่นี้ชุมชนจึงต่างจากหมู่คณะอื่น เช่น สมาคม ตรงที่ชุมชนเป็นการดําเนินชีวิตร่วมกันแบบเป็นไป
เอง แต่สมาคมเป็นการรวมกันโดยมีวัตถุประสงค์ตามที่ตกลงกันหรือจัดตั้งขึ้นอย่างจงใจ และต่างจาก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยปกครองที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสมภายใต้กฎหมาย ซึ่ง
โดยทั่วไปมักมีขึ้นจากการกําหนดเขตปกครองท้องที่เพื่อประโยชน์ในการปกครองหรือการบริหาร
ราชการของรัฐ (กิตติศักดิ์ ปรกติ ๒๕๕๐)
ส่วน “สิทธิ” หมายถึง การที่ชุมชนสามารถเป็นผู้กําหนดวิถีชีวิตของเขาได้เอง โดยที่
สิทธินั้นจะต้องเกิดขึ้นภายใต้ความชอบธรรมที่ชุมชนหรือสังคมให้การยอมรับ ดังนั้นสิทธิจึงเป็นอํานาจที่
ถูกกํากับด้วยความชอบธรรม อันหมายถึงอํานาจที่ถูกต้องตามหลักธรรม ตามหลักของคุณงามความดี
ความถูกต้อง ความยุติธรรม เช่น หลักศาสนา หลักกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ประเพณีและเกณฑ์คุณค่าที่
คนในสังคมหนึ่งๆ ยึดถือร่วมกัน (วีระ สมบูรณ์ ๒๕๔๕)
“สิทธิชุมชน” จึงเป็นสิทธิโดยธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชน รวมทั้งเป็น
อํานาจอันชอบธรรมที่ชุมชนพึงมีพึงได้อย่างถูกต้องชอบธรรม ซึ่งผู้อื่นต้องยอมรับและจะละเมิดหรือ
ลิดรอนมิได้ และยังหมายรวมถึงการให้ชุมชนชาวบ้านมีสิทธิในการเลือกอนาคตของตัวเอง เป็นตัวของ
ตัวเอง และเป็นอิสระโดยตัวเอง โดยมีลักษณะดังนี้ (ยศ สันตสมบัติ ๒๕๔๒, เสน่ห์ จามริก ๒๕๔๙,
กิตติศักดิ์ ปรกติ ๒๕๕๐, อคิน รพีพัฒน์ ๒๕๕๒)
๑) สิทธิชุมชนจะมีความเฉพาะเจาะจงแต่ละชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะกําหนดรูปแบบสิทธิ
อย่างไรนั้นก็เป็นไปตามบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของตนเอง ทั้งนี้ไม่สามารถกําหนด
สิทธิชุมชนให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหรือเป็นรูปแบบตายตัวได้
๒) สิทธิชุมชนไม่ใช่สิทธิครอบครองเป็นเจ้าของอย่างเบ็ดเสร็จเหมือนสิทธิปัจเจกและ
สิทธิของรัฐที่เจ้าของสามารถใช้สิทธิของตนเองกีดกันการเกี่ยวข้องจากภายนอกได้อย่างสิ้นเชิง แต่สิทธิ
ชุมชนให้ความสําคัญกับผู้ที่อยู่กินดูแลทรัพยากรเพื่อความอยู่รอดของชุมชนเป็นอันดับแรก คนภายนอก
จะมาอ้างสิทธิเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนเมืองมาอยู่เหนือการมีชีวิตรอดของชุมชนไม่ได้ ระดับของ
การมีส่วนร่วมจึงลดหลั่นกันไปตามความจําเป็นพื้นฐานของชีวิตและสังคม
๓) สิทธิชุมชนเป็นสิทธิร่วมเหนือทรัพย์สินของชุมชนที่ให้ความสําคัญกับการใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เช่น สมาชิกของชุมชนซึ่งทําหน้าที่ดูแล
รักษาป่าเท่านั้น จึงจะมีสิทธิใช้และได้ประโยชน์จากป่า รวมถึงการที่ชุมชนก็สามารถใช้อํานาจออก
กฎเกณฑ์โดยคํานึงถึงความเป็นธรรมในสังคมเป็นสําคัญ ตัวอย่างเช่น ชุมชนหลายแหล่งมีกฎเกณฑ์