Page 26 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 26

๑๒







                  การพัฒนา อันประกอบไปด้วยสิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเอง สิทธิในการพัฒนา
                  สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นการแสดงออก และการรับหรือ

                  เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งจากการศึกษาของคณะอนุกรรมการด้าน

                  พลังงานและอุตสาหกรรม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (๒๕๔๕) สามารถสรุปสาระสําคัญของ
                  สิทธิในด้านต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนี้




                         ๓.๒.๑  สิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเอง


                                แนวคิดในเรื่องสิทธิชุมชนเป็นผลมาจากการพัฒนาแนวคิดในเรื่อง “สิทธิในการกําหนด
                  เจตจํานงของตนเอง” (Right to Self-Determination) ซึ่งเป็นสิทธิที่รองรับไว้โดยตราสารของกฎหมาย

                  ระหว่างประเทศหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ

                  ทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights; ICCPR) และกติการะหว่าง
                  ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม (International Covenant on Economic,

                  Social and Cultural Rights; ICESCR)  ซึ่งต่างก็มีการระบุสิทธินี้ไว้เป็นข้อแรกสุด โดยมีสถานะเป็น

                  สิทธิเชิงกลุ่ม (Collective Rights) หรือสิทธิปวงชน (People Rights)

                              กติการะหว่างประเทศทั้งสองนี้ได้รับรองว่า ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิในการกําหนด

                  เจตจํานงของตนเอง โดยประชาชนจะกําหนดสถานะทางการเมืองของตนอย่างเสรี รวมทั้งการ
                  ดําเนินการอย่างเสรีในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตน อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงสิทธิ

                  ในการจัดการเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและทรัพยากรของตนได้อย่างเสรี เพื่อที่จะบรรลุ

                  จุดหมายปลายทางที่กําหนด สิทธิในการกําหนดเจตจํานงดังกล่าวนี้อาจคล้ายกับสิทธิของปัจเจก
                  (Individual) แต่หากพิจารณาถึงสิ่งที่กฎหมายระหว่างประเทศทั้งสองมุ่งหมายแล้ว กติกาทั้งสองต่างให้

                  ความสําคัญกับคําว่า “ประชาชนทั้งปวง” (All peoples) ย่อมหมายความว่าสิทธิดังกล่าวมีลักษณะเป็น

                  สิทธิร่วมกัน (Collective  Rights)  ของประชาชน  และมีการนําเอาแนวคิดและหลักการในการกําหนด
                  เจตจํานงของตนเองมาอธิบายสิทธิของชุมชนในการที่จะบริหารจัดการท้องที่ของตนเอง และการใช้สิทธิ

                  ตัดสินใจในเรื่องสําคัญที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของตนเอง

                              สิทธิของประชาชนในการกําหนดสถานะทางการเมืองและแนวทางการพัฒนา

                  เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และแนบแน่นกับ

                  สิทธิชุมชนและศักยภาพของชุมชนในการจัดการทรัพยากรด้วยกฎเกณฑ์ของตนเอง ทั้งนี้ระบบสิทธิใน
                  ทรัพย์สินที่กําหนดกฎเกณฑ์ควบคุมและบังคับใช้โดยผู้ใช้ทรัพยากรเองจะที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

                  มากกว่าระบบที่ถูกกําหนดโดยอํานาจจากภายนอก เพราะระบบสิทธิในทรัพย์สินที่หลากหลายตาม
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31