Page 29 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 29

๑๕







                  อ้างถึงสิทธิในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสวงประโยชน์จาก
                  สินแร่ต่าง ๆ ในทะเลที่มีอยู่อย่างจํากัดและมีการแสวงประโยชน์โดยเสรี ซึ่งการใช้หลักผู้ใดมาก่อนย่อม

                  แสวงประโยชน์ได้ก่อน ย่อมส่งผลให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดนั้นหมดไปอย่างรวดเร็ว และจะเป็นการ

                  ส่งเสริมให้ “ผู้แข็งแกร่งยิ่งแข็งแกร่งยิ่งขึ้นไป ผู้ที่ร่ํารวยก็ยิ่งร่ํารวยขึ้นไป” ดังนั้นจึงจําเป็นที่จะต้องมีการ
                  สงวนทรัพยากรดังกล่าวไว้เพื่อเป็นประโยชน์ที่มนุษยชาติจะได้ใช้ร่วมกันโดยคํานึงถึงความเป็นธรรมแก่

                  ผู้ที่ยังไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะแสวงประโยชน์ดังกล่าว

                                -  หลักการ Common Pool Resources  เป็นแนวคิดที่ต้องการใช้กับการจัดการ

                  เรื่องทรัพยากรป่าไม้ และมุ่งโดยตรงต่อการสงวนและรักษาไว้ซึ่งป่าไม้ทั้งระดับภายในประเทศและ

                  ภูมิภาคว่า จะต้องมีการใช้โดยการแบ่งปัน มีการควบคุมและบริหารจัดการ เพื่อให้การแสวงประโยชน์
                  เป็นไปอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ อันนําไปสู่การป้องกันมิให้ทรัพยากรป่าไม้ลดปริมาณลงมากเกิน

                  สมควร แนวคิดนี้ยังสนับสนุนให้ประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรที่อยู่ใกล้ชิดกับ

                  ทรัพยากรธรรมชาตินั้น ๆ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีส่วนร่วมในการจัดการใช้ประโยชน์จาก
                  ทรัพยากรดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่อมนุษย์โดยตรง

                  และเพื่อให้มนุษย์ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างเท่า

                  เทียมกัน

                                -  หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากคณะกรรมาธิการแห่งโลกว่าด้วย

                  สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ภายใต้องค์การสหประชาชาติ ในปี ค.ศ. ๑๙๘๗ โดยพยายามสร้าง
                  มาตรฐานในการรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่อาจสูญเสียไปจากการพัฒนา ตามแนวคิดว่าหาก

                  ประชากรในยุคปัจจุบันใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปในทางที่เกิดประโยชน์

                  ต่อคนในรุ่นตนเองมากเกินไป โดยไม่คํานึงถึงการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรของคนในรุ่นอนาคต ปัญหา
                  ที่จะเกิดขึ้นคือ ทรัพยากรจะไม่หลงเหลืออยู่ให้คนในอนาคตได้ใช้ในการดํารงชีวิต ดังนั้นย่อมถือว่าคน

                  ในปัจจุบันได้ละเมิดต่อสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนในอนาคต แนวคิดในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึง

                  ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดความสมดุลในการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติ
                  และสิ่งแวดล้อมที่จะสามารถใช้ได้ในระยะยาวหรือตลอดไป ซึ่งถือว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน

                  การมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดีอีกประการหนึ่ง




                         ๓.๒.๔  สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ

                                ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Universal Declaration

                  of Human Rights; UDHR)  ข้อ ๒๕ ได้บัญญัติไว้ว่า บุคคลมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34