Page 22 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 22
บทที่ ๓
สิทธิชุมชน และสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับ
ผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต้
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นการขยายตามแนวทางระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ
อย่างกว้างขวาง ทั้งด้านปัญหาความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจและชนชั้นทางสังคม ปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างรัฐเอกชนและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าการจัดทําแผนงานโครงการขนาดใหญ่ล้วนเป็น
การวางแผนกําหนดมาจากรัฐและหน่วยงานส่วนกลาง โดยมิได้คํานึงถึงการมีส่วนร่วมและสิทธิของ
ชุมชนท้องถิ่น ส่งผลให้โครงการต่าง ๆ จากรัฐที่เข้าสู่ชุมชน นอกจากจะทําลายฐานทรัพยากรที่ชุมชน
เคยได้ใช้ประโยชน์ในการดํารงชีวิตและประกอบอาชีพแล้ว ยังเป็นการดึงเอาทรัพยากรของชุมชนออกไป
ให้ภายนอกใช้ประโยชน์ การกระทําของรัฐที่ใช้อํานาจเข้ามาจัดการทรัพยากรของชุมชน โดยถือว่า
ชุมชนไม่มีตัวตนและสิทธิทางกฎหมายเช่นนี้ เป็นการลบล้างสิทธิของชุมชนที่เคยมีอยู่เหนือทรัพยากร
ของชุมชน ทําให้ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตนเองและสิทธิของชุมชน จนในที่สุด
นําไปสู่การมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ พุทธศักราช
๒๕๕๐ ที่ยอมรับสิทธิของชุมชน
๓.๑ สิทธิชุมชน
๓.๑.๑ ชุมชนและสิทธิชุมชม
ชุมชน (Community) เป็นหน่วยสังคมที่เกิดจากหมู่คณะที่ดํารงอยู่ร่วมกันในท้องที่ใด
ท้องที่หนึ่ง โดยแม้มิได้มีเป้าหมายเจาะจงหรือตกลงดําเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน แต่มี
ความสัมพันธ์ผูกพันระหว่างกันทางสังคม ในลักษณะวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือการอยู่
ร่วมกันตามธรรมชาติ โดยมิได้มีผู้จงใจสร้างขึ้น แต่ก็มีองค์กรหรือกลไกของชุมชนในการตัดสินใจร่วมกัน
อย่างมีแบบแผนเป็นกิจจะลักษณะและเป็นที่รับรู้แก่สาธารณชนได้อย่างชัดเจนเกิดเป็นพลังในการคอย
กํากับดูแลและพลังในการต่อต้านการแทรกแซงการครอบงําจากอํานาจภายนอก การมีอยู่ของชุมชนตาม