Page 158 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 158

๑๔๔







                  ๖.๒  ข้อเสนอแนะ

                         ๖.๒.๑  ข้อเสนอแนะจากเวทีวิจัย


                                ๑)  ข้อเสนอแนะต่อนโยบายและแผนงานระดับชาติ

                             ผลจากเวทีเชิงปฏิบัติการของกรณีร้องเรียนต่อโครงการพัฒนาภาคใต้ทั้ง ๔

                  จังหวัดกรณีศึกษา ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สงขลาและสตูล มีข้อเสนอสรุปได้ดังนี้

                                  ๑.๑) ควรให้มีการทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ หากว่าจะต้องจัดทําใหม่ก็ต้องให้

                  เป็นแผนพัฒนาที่คุ้มครองสิทธิชุมชน รวมทั้งประชาชนและชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนตั้งแต่
                  แรกเริ่ม และในการจัดทําแผนต้องคํานึงถึงสิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเอง สิทธิใน

                  การพัฒนา สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ สิทธิในข้อมูลข่าวสาร สิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์จาก

                  ทรัพยากรธรรมชาติ และสิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

                             ๑.๒) ให้มีการประกาศเขตพื้นที่ภาคใต้เป็นเขตคุ้มครองแหล่งผลิตอาหารของ

                  ประเทศ วิกฤตอาหารจะเป็นภัยคุกคามของมนุษยชาติในอนาคต ภาคใต้มีทรัพยากรอาหารทั้งทะเลและ
                  พื้นดินอย่างอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ภาคใต้ควรเป็นแหล่งผลิตอาหาร และควรประกาศให้เป็นเขตคุ้มครอง

                  พื้นที่ผลิตอาหารของประเทศ


                             ๑.๓) จัดทําทางเลือกของนโยบายและแผนของแต่ละจังหวัดในเชิงรุก โดยการ
                  สร้างนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาระดับจังหวัดที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการกําหนดอนาคตของ

                  ตนเองบนฐานทรัพยากรตามแต่ละภูมินิเวศของท้องถิ่น

                             ๑.๔) จัดทําการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดยชุมชน ชุมชนที่

                  เป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้ จะต้องจัดทํากระบวนการประเมินผลกระทบ

                  สิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดยชุมชน เพื่อที่จะได้เห็นชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น
                  ตนเอง และร่วมกันนําเสนอแนวทางและทิศทางในอนาคตที่ชุมชนต้องการ


                             ๑.๕) ควรมีการทบทวนรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และ
                  รายงานการประเมินผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA)  ของโครงการในภาคใต้ เนื่องจาก

                  ชุมชนพบว่าการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและรายงานการประเมินผลกระทบ

                  สุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมานั้น มักจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการลงพื้นที่ศึกษา
                  จริง และไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นจริง จึงทําให้รายงานเหล่านั้นไม่ครอบคลุมข้อเท็จจริง

                  ของชุมชนและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงขอให้ยกเลิกรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและ

                  รายงานการประเมินผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของโครงการในภาคใต้ที่ได้มีการอนุมัติไปแล้ว
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163