Page 157 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 157

๑๔๓







                  หรืออ่างเก็บน้ําก็มักจะเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์หรือพื้นที่เกษตรกรรม ที่ชุมชนได้มีการเข้าไปใช้
                  ประโยชน์ร่วมกันต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ผูกพันเป็นวิถีชีวิตของชุมชน การดําเนินโครงการภายใต้

                  แผนพัฒนาภาคใต้ในทุกกรณีศึกษาล้วนจะคุกคามพื้นที่ซึ่งชุมชนได้อาศัยใช้ประโยชน์ความอุดมสมบูรณ์

                  และความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อต่อวิถีชีวิตและการดํารงชีพ เช่น พื้นที่ป่าพรุแม่รําพึง
                  อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อ่าวทองคํา อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

                  อ่าวปากบารา อําเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นต้น การเข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าวของอุตสาหกรรม ท่าเรือน้ําลึก

                  และโรงไฟฟ้า ย่อมมีผลต่อการคุกคามสิทธิของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง
                  ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ที่เคยมีมาแต่ดั้งเดิมตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๖ ใน

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                         ๕)  สิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น


                             รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ ว่าให้รัฐ
                  ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดําเนินการวางแผนพัฒนา

                  สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกําหนดเขต

                  การใช้ประโยชน์ในที่ดิน  และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสําคัญของประชาชน  รวมถึง
                  การจัดทําโครงการหรือกิจกรรมที่อาจจะก่อผลกระทบอย่างรุนแรง ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความ

                  คิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนตามบทบัญญัติมาตรา ๖๗


                             การจัดทําแผนงานโครงการพัฒนาภาคใต้ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับภาค จนถึงระดับท้องถิ่น
                  เป็นลักษณะการคิดแบบรวมศูนย์และกําหนดมาจากหน่วยงานส่วนกลาง ไม่ได้เป็นการจัดทําแผนที่มี

                  กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อน และหน่วยงานที่รับผิดชอบก็เพียงแต่

                  ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนทางกฎหมายของหน่วยงานตนเองที่ยังมีได้มีการปรับเปลี่ยนให้
                  สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๒๒

                  พระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                  แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้น นอกจากนี้การรับฟังความคิดเห็นของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจ

                  ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและ

                  สุขภาพ ก็ยังเน้นกระบวนการทางเทคนิคที่ให้แต่ข้อมูลประโยชน์และด้านดีของโครงการ ซึ่งยังไม่
                  สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็นภายใต้รัฐธรรมนูญ
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162