Page 160 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 160

๑๔๖







                               (๔) ขยายยุทธศาสตร์จังหวัดเรื่องประมงและประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็น
                  ประมงขนาดเล็กที่ทํามาหากินแถบชายฝั่ง ที่ใช้เรือขนาดเล็ก และเครื่องมือประมงง่ายๆ ที่ไม่ทําลายล้าง

                  ไม่ทําลายระบบนิเวศ โดยศึกษาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมเรื่องเศรษฐกิจชุมชนประมงชายฝั่งทั้ง ๔๘ หมู่บ้าน

                  ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งเศรษฐกิจของชาวประมงจากจังหวัดอื่น ๆ ที่มาหากินจับสัตว์ทะเลใน
                  น่านน้ําพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


                               (๕) สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดการและดูแล
                  ทรัพยากรธรรมชาติ โดยร่วมกันยึดแนวทางการพัฒนาบนหลักการสิทธิชุมชนและการบริหารการ

                  จัดการสังคมที่มีการกระจายอํานาจและถ่ายโอนลงสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะในเรื่องของประมงพื้นบ้าน

                  และการดูแลรักษาชายฝั่งทะเล และการพัฒนาพื้นที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในอําเภอ
                  ทับสะแก ที่ต้องให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้พื้นที่


                             ๒.๒) กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช

                               (๑) ประชาชนต้องมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการกําหนดอนาคตของตนเอง

                  ชาวนครศรีธรรมราชต้องการที่จะจัดทําแผนของชุมชน จังหวัด และกําหนดอนาคตของตนเองบนฐาน

                  ทรัพยากร จารีต ประเพณี และวิถีชีวิต ของตนเอง

                               (๒) ประกาศเขตคุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหารชายฝั่งทะเลนครศรีธรรมราช

                  โดยให้กรมประมงประกาศพื้นที่คุ้มครองสัตว์น้ําช่วงฤดูวางไข่ให้ครอบคลุมถึงอ่าวท่าศาลาด้วย  และให้
                  สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใช้กลไกการประกาศพื้นที่คุ้มครอง

                  สิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศให้

                  พื้นที่อ่าวทองคํา อําเภอท่าศาลา เป็น “พื้นที่คุ้มครองแหล่งผลิตอาหาร”  นอกจากนี้ชุมชนและองค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องร่วมกันผลักดันที่จะให้มีการใช้สิทธิชุมชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

                  มาตรา ๖๖ และมาตรา ๒๙๐ ด้วยการร่วมกันจัดทําธรรมนูญชุมชนและประกาศพื้นที่คุ้มครองแหล่ง

                  อาหารของชุมชน  โดยใช้กลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ธรรมนูญ
                  ชุมชน และกติกาชุมชนเรื่องเขตอนุบาลสัตว์น้ําชายฝั่ง ในการประกาศเขตและมาตรการในการคุ้มครอง

                  พื้นที่แหล่งผลิตอาหารของชุมชน

                             (๓) เมืองที่พึ่งตนเองและยั่งยืน บนฐานเศรษฐกิจหลากหลายประเภท การ

                  พัฒนาเมืองนครศรีธรรมราชต้องยั่งยืนและเป็นธรรมโดยอยู่บนฐานของเศรษฐกิจหลากหลายประเภท

                  ได้แก่ เกษตร อุตสาหกรรม เหมืองแร่ การขนส่งและการขายปลีก การบริหารราชการ และอื่น ๆ
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165