Page 162 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 162
๑๔๘
(๓) ต้องจัดให้มีการสํารวจ และศึกษาพื้นที่คุ้มครองเฉพาะ เพื่อประกาศ
ให้เป็นเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในระดับภูมินิเวศ โดยเฉพาะพื้นที่ปลาวางไข่ พื้นที่
สัตว์น้ําหายาก แหล่งปะการัง แหล่งหญ้าทะเล พื้นที่ที่มีความหลากหลายของทรัพยากร ซึ่งถือเป็นแหล่ง
ผลิตอาหารทางทะเลที่สําคัญของจังหวัดสตูล
(๔) ส่งเสริมให้มีการการจัดตั้งเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน
และสนับสนุนกลุ่มเหล่านั้นให้ดูแล รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น การทํา
ธนาคารปูไข่ ธนาคารกั้ง แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ํา บ้านปลา และส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้าง
รายได้ให้แก่กลุ่มองค์กรชาวประมงพื้นบ้าน
(๕) สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน นํารูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน
มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวภายใต้ศักยภาพเชิงธรรมชาติที่มีอยู่
และพัฒนาศักยภาพชุมชนสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างต่อเนื่อง
(๖) ส่งเสริมการศึกษาทางเลือก โดยจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย
และเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีนักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
๖.๒.๒ ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย
๑) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
๑.๑) ควรผลักดันให้มีการทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ จากผลการศึกษาพบว่า
โครงการต่าง ๆ ของแผนพัฒนาภาคใต้ยังถูกขับเคลื่อนและผลักดันจากทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนอยู่
ตลอดเวลา แต่การชี้แจงโครงการต่อชุมชนไม่ชัดเจน การจัดทํากระบวนการมีส่วนร่วมและการจัดรับฟัง
ความคิดเห็นเพื่อพิจารณาโครงการแทบจะไม่ค่อยได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติเรื่องสิทธิชุมชนและบทบัญญัติ
อื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ชุมชนและภาคประชาสังคมมีความ
กังวลว่าแผนพัฒนาภาคใต้จะมีแนวโน้มก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิชุมชนและสร้างความขัดแย้งในภาคใต้ที่
รุนแรงมากขึ้น จึงควรมีการทบทวนยุทธศาสตร์และทิศทางของแผนพัฒนาภาคใต้ โดยให้ชุมชนมีส่วน
ร่วมในการพิจารณากําหนดอย่างแท้จริง
๑.๒) ควรผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบในการจัดทํารายงานการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA)
จากกรณีศึกษาของงานวิจัย พบว่า ในหลายกรณีการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มักจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิ และไม่ได้