Page 163 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 163

๑๔๙







                  ทําการศึกษาจริง การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นก็มักจะให้ข้อมูลเฉพาะด้านดีและประโยชน์ของโครงการ
                  กระบวนการจัดทําเวทีก็มักจะขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งกลไก และกระบวนการพิจารณา

                  รายงานในปัจจุบันที่ใช้ระบบการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (คชก.) ประชาชนและชุมชนที่ได้รับ

                  ผลกระทบแทบจะเข้าไม่ถึงข้อมูลในระหว่างการพิจารณารายงาน จึงควรรีบเร่งผลักดันให้มีการปฏิรูป
                  ระบบการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และรายงานการประเมินผลกระทบด้าน

                  สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นเครื่องมือที่เป็นกลไกการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

                  ตลอดจนถึงการคุ้มครองสิทธิในการดําเนินโครงการอย่างแท้จริง

                             ๑.๓) ควรรีบเร่งผลักดันพระราชบัญญัติสิทธิชุมชน การจัดทํารายงานการ

                  ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) เป็นเครื่องมือที่เกิดขึ้นภายใต้บทบัญญัติเรื่องสิทธิ
                  ชุมชนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในมาตรา ๖๗ วรรค ๒ แต่ในปัจจุบัน

                  การดําเนินการกลับอยู่ภายใต้กลไกการดําเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งไม่มีความถนัดและ

                  องค์ความรู้ด้านสิทธิชุมชน จึงควรรีบเร่งผลักดันให้มีการออกฎหมายพระราชบัญญัติสิทธิชุมชน

                             ๑.๔) ควรผลักดันให้มีการปรับปรุงกฎหมายและกฎกระทรวง และระเบียบของ
                  หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทํายุทธศาสตร์และแผนพัฒนา การพัฒนาสาธารณูปโภค การ

                  จัดตั้งพื้นที่อุตสาหกรรม และอื่น ๆ ให้อนุวัตรและสอดคล้องกับหลักการสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน

                  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตามบทบัญญัติของมาตรา ๖๗ วรรค ๒
                  ดังนี้


                             (๑) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ควรปรับปรุงกฎกระทรวง

                  กําหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ.  ๒๕๔๘ ออกความตาม
                  พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยควรเพิ่มเติมเงื่อนไขการพิจารณาการที่จะ

                  ประกาศเขตพื้นที่ใดเป็นนิคมอุตสาหกรรม ในประเด็นต่อไปนี้

                                 - การมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนตามบทบัญญัติ

                  เรื่องสิทธิชุมชนในมาตรา ๖๖ และ ๖๗ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                                 - รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการจัดตั้งนิคม

                  อุตสาหกรรมที่ได้รับการอนุมัติจากสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


                                 - ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่จัดทําผังเมืองรวมเมือง ผังเมือง
                  รวมชุมชน ที่ได้ผ่านการพิจารณารับหลักการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่อยู่ระหว่างการ

                  ดําเนินการเพื่อประกาศเขตพื้นที่
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168