Page 155 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 155

๑๔๑







                  แผนพัฒนาทั้งในจังหวัดและการพัฒนาในภาพรวมของภาคใต้ ตลอดถึงการมีส่วนร่วมกําหนดทิศทางการ
                  พัฒนาประเทศ


                         ๒)  สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ

                             การหวงแหนสิทธิในมาตรฐานการครองชีพของชุมชนที่ประกอบอาชีพโดยอิงอาศัยอยู่บน

                  ฐานทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ และเป็นฐานเศรษฐกิจของชุมชน
                  ท้องถิ่นที่มีการจ้างงานและการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เป็นอีกเหตุผลสําคัญที่ชาวบ้านและชุมชนใน

                  ทุกจังหวัดไม่ยอมรับและไม่เอาด้วยกับโครงการแผนพัฒนาภาคใต้ เพราะเห็นว่าทิศทางการพัฒนา

                  ภาคใต้ด้วยอุตสาหกรรมหนักจะเป็นตัวการสําคัญที่จะทําลายแหล่งทํามาหากินและอาชีพของชาวบ้าน
                  อันจะส่งผลต่อการการดํารงชีวิตและความผาสุกของครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้การเลือกที่ตั้งของ

                  โครงการพัฒนาภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ําลึก โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

                  ล้วนแล้วแต่ซ้อนทับกับพื้นที่ประมงชายฝั่ง ทั้งแหล่งวางไข่ปลาทูในพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                  อ่าวทองคํา อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เป็นแหล่งประมงพื้นบ้านซึ่งสร้างเศรษฐกิจชุมชน

                  ท้องถิ่นและอาชีพต่อเนื่องมูลค่ามหาศาลด้วยการส่งสินค้าสัตว์น้ําทะเลไปขายต่างประเทศ อ่าวปากบารา

                  อําเภอละงู จังหวัดสตูล และอ่าวสวนกง อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ยังมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดม
                  สมบูรณ์ ดังนั้นหากว่าฐานทรัพยากรทางทะเลและประมงที่มีความอุดมสมบูรณ์ของชุมชนท้องถิ่นต้อง

                  เสื่อมโทรมลง ระบบและวิถีชีวิตของชุมชนประมงทั้งหมดก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ย่ําแย่ลงด้วย


                             นอกจากนี้การได้รับรู้ประสบการณ์เชิงประจักษ์ของการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักในพื้นที่อื่น
                  ทั้งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาบตาพุด อําเภอเมือง จังหวัดระยอง โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ

                  อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง ผลกระทบจากอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ําของญี่ปุ่น ตลอดจนถึงผลกระทบ

                  จากโครงการอื่น ๆ ภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้ที่ได้เปิดดําเนินการแล้วในพื้นที่จังหวัดสงขลา ทั้งโครงการ
                  วางท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย โรงไฟฟ้าสงขลา ๑ ท่าเรือน้ําลึกสงขลา ๑ การ

                  สํารวจและขุดเจาะปิโตรเลียม ที่ล้วนแล้วแต่ทําลายฐานทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่น มลพิษ
                  สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชนที่ป่วยเรื้อรังไร้คนเหลียวแล คุณภาพชีวิตที่แย่ลง รวมถึง

                  ผลกระทบทางสังคมที่ทําลายวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชน และก่อให้เกิดความแตกแยกด้าน

                  ความสัมพันธ์ของคนชุมชน ทําให้ชาวบ้านกังวลว่าโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้ จะเข้ามา
                  ทําลายถิ่นอาศัยและแหล่งทํามาหากินประกอบอาชีพของตนเอง ก่อให้เกิดขบวนการต่อสู้ของชุมชนเพื่อ

                  คัดค้านโครงการแผนพัฒนาภาคใต้ในทุกกรณีศึกษา
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160