Page 153 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 153

๑๓๙







                  โดยกระทรวงคมนาคม การจัดเตรียมพลังงานไฟฟ้าโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การพัฒนา
                  ท่อพลังงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยกระทรวงพลังงาน การศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่นิคม

                  อุตสาหกรรมภาคใต้โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ ทั้งนี้หน่วยงานดังกล่าวไม่ได้มีการ

                  ชี้แจงข้อมูลว่าโครงการมีความเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาภาคใต้ ทําให้ชุมชนไม่เห็นภาพรวมของชุด
                  โครงการพัฒนาใหญ่ ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือ การปิดบังข้อมูลและเปิดเผยข้อมูลไม่หมดทั้งภาพใหญ่


                         ชุมชนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบภายใต้การดําเนินการโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับแผนพัฒนาภาคใต้
                  ในพื้นที่ ๔ จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล

                  ที่ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทุกกรณีศึกษา ล้วนแล้วแต่ประสบกับปัญหาการ

                  ถูกละเมิดสิทธิจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน ทั้งสิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเอง
                  สิทธิในการพัฒนา สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ สิทธิในข้อมูลข่าวสาร สิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์

                  จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

                         กระบวนการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งการลงพื้นที่

                  ตรวจสอบข้อเท็จจริง การประชุมหรือการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน ตลอดจนการเชิญ

                  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ทําให้ชุมชนได้เรียนรู้เข้าใจและตระหนักถึง
                  สิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชนของตนเองมากขึ้น และส่งผลให้ชุมชนมีการใช้สิทธิของชุมชนภายใต้

                  รัฐธรรมนูญมากขึ้น ตั้งแต่การปกป้องสิทธิของตนเอง การเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐดําเนินการกับผู้ที่

                  ละเมิดสิทธิของชุมชน ตลอดจนการฟ้องร้องหน่วยงานรัฐในบางกรณี เช่น กรณีร้องเรียนประชาชนได้รับ
                  ผลกระทบจากการทําเหมืองหินเขาคูหา  และกรณีร้องเรียนโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย จนถึงการให้

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นกลไกหนุนเสริมกระบวนการประสานความร่วมมือกับ

                  หน่วยงานรัฐ เช่น การจัดทําแผนพัฒนาของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดย
                  ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นผู้ประสานหน่วยงานรัฐทั้งระดับจังหวัดและส่วนกลาง


                         นอกจากนี้ การจัดทําเวทีของโครงการวิจัยทั้งการสนทนากลุ่ม เวทีระดับจังหวัด และเวทีรวม
                  ของกรณีศึกษา ๔ จังหวัด ได้มีส่วนในการช่วยหนุนเสริมและประสานชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก

                  โครงการพัฒนาภาคใต้ให้มาประสานแลกเปลี่ยนกัน เช่น ชุมชนจากกรณีโครงการเขื่อนและอ่างเก็บน้ํา

                  ต่าง ๆ ได้มาเจอกับชุมชนประมงชายฝั่งจากกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ท่าเทียบเรือและนิคมอุตสาหกรรมใน
                  จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการที่ได้ดําเนินการไปแล้วในจังหวัดสงขลา

                  ได้มาแลกเปลี่ยนทุกข์และผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นแล้ว รวมถึงชุมชนที่ได้รับผลกระทบใน

                  ๔ จังหวัดก็ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกันเป็นครั้งแรก ทําให้เกิดการประสานความร่วมมือกันเพื่อที่จะ
                  ผลักดันการพัฒนาภาคใต้ให้เป็นไปในทิศทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานทรัพยากรธรรมชาติและเศรษฐกิจ

                  ชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาที่คุ้มครองสิทธิชุมชน
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158