Page 152 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 152

บทที่ ๖


                                               บทสรุปและข้อเสนอแนะ




                         จากผลการศึกษาของโครงการทั้งจากการจัดเวทีสนทนากลุ่ม การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

                  ระดับจังหวัด ตลอดจนถึงการจัดเวทีร่วมกันของชาวบ้านจากกรณีร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนา

                  ภาคใต้ สามารถสังเคราะห์สรุปประเด็นการละเมิดสิทธิของโครงการพัฒนาภาคใต้ รวมถึงข้อเสนอแนะ
                  เชิงนโยบายทั้งระดับจังหวัดและระดับชาติเพื่อให้เกิดการพัฒนาภาคใต้ที่คุ้มครองสิทธิของชุมชน ดัง

                  รายละเอียดต่อไปนี้




                  ๖.๑  บทสรุป

                         แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้มีลักษณะเป็นชุดโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ภายใต้การศึกษาของ

                  สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งการศึกษาและจัดทําแผนล้วนแล้วแต่

                  ได้รับการสนับสนุนและศึกษาโดยต่างชาติดังนี้ แผนพัฒนาภาคใต้ตอนบนมีองค์กรความร่วมมือระหว่าง
                  ประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency, JICA) และธนาคารเพื่อการพัฒนา

                  เอเชีย (Asian Development Bank, ADB) เป็นผู้ทําการศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๐ ส่วน

                  แผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ได้จัดทําการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๕
                  ซึ่งเป็นความร่วมมือของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา จํานวน ๔  บริษัท คือ บริษัท Bechtel  สหรัฐอเมริกา

                  บริษัท Nippon Koei ญี่ปุ่น และบริษัทไทยอีก ๒ บริษัท คือ บริษัท เอเซี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นท์

                  จํากัด (AEC) และบริษัท เซ้าท์อี๊สท์เอเชียเทคโนโลยี่ จํากัด (SEATEC) หลังจากนั้นมาสํานักงาน
                  คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ได้ผลักดันชุดโครงการแผนพัฒนาภาคใต้เข้าสู่

                  นโยบายระดับชาติ ซึ่งถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการชะลอและทบทวนการดําเนินการแผนพัฒนาภาคใต้

                  หลายครั้ง แต่ก็ยังคงเป้าหมายเดิมที่จะพัฒนาภาคใต้ให้เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและ
                  พลังงานของภูมิภาค


                         การดําเนินงานในระยะแรกของแผนพัฒนาภาคใต้ มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ
                  ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยใช้วิธีการแยกย่อยแผนงานโครงการ

                  ไปตามภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงาน เช่น การจัดทําแผนพัฒนาแหล่งน้ําเพื่อรองรับ

                  การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยกรมชลประทาน การพัฒนาระบบถนน การขนส่งทางราง และท่าเรือน้ําลึก
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157