Page 150 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 150

๑๓๖







                  ปลาและกุ้งต่าง ๆ ที่ อ่าวจะนะ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันสหประชาชาติเป็นห่วงเรื่องวิกฤตอาหารโลกว่า
                  จะเอาอะไรเป็นอาหารป้อนโลกในปี ๒๐๕๐  เพราะโลกจะเกิดวิกฤตเรื่องอาหาร เนื่องจากวิกฤตของ

                  สิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ วิกฤตอาหารจะเป็นภัยคุกคามของมนุษยชาติในอนาคต ภาคใต้มี

                  ทรัพยากรอาหารทั้งทะเลและพื้นดินอย่างอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ภาคใต้จึงควรเป็นแหล่งผลิตอาหาร และ
                  ควรประกาศให้เป็นเขตคุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหารของประเทศ


                         ๓)  จัดทําการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดยชุมชน ชุมชนที่เป็นพื้นที่
                  เป้าหมายของโครงการภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้ จะต้องทํากระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

                  และสุขภาพโดยชุมชน เพื่อที่จะได้เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรในท้องถิ่นตนเอง และนําเสนอแนวทาง

                  และทิศทางในอนาคตที่ชุมชนต้องการ

                         ๔)  ควรมีการทบทวนการจัดทํารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงาน

                  การประเมินผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ของโครงการในภาคใต้ เนื่องจากชุมชนพบว่า
                  การทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมานั้นไม่ทําจริง ไม่ศึกษาจริง และไม่มีการมี

                  ส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นจริง ซึ่งทําให้รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ครอบคลุม

                  ข้อเท็จจริงของชุมชนและผลกระทบ ดังนั้นโครงการในภาคใต้

                             - ที่มีการอนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปแล้วขอให้ยกเลิก


                             - หากอยู่ระหว่างการดําเนินการ ก็ขอให้ประชาชนมีส่วนร่วม

                             - หากยังไม่ได้เริ่มจัดทํา ก็ขอให้ดําเนินการให้ถูกต้อง โดยคํานึงถึงสิทธิชุมชนตาม

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐

                         ๕)  ควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลไกการพิจารณาอนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบ

                  สิ่งแวดล้อม  เนื่องจากทั้งโครงสร้างและกลไกในการพิจารณาอนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบ

                  สิ่งแวดล้อม ไม่ชอบธรรม และมีผลประโยชน์ทับซ้อนของกลไกและกระบวนการจัดทํารายงานการ
                  ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันเจ้าของโครงการจะเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้เป็นผู้จัดทํา

                  รายงาน ทําให้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างไรก็ผ่านทุกโครงการ เพียงแค่มีข้อเสนอว่าสามารถแก้ไข

                  ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ ทั้ง ๆ ที่หากโครงการที่จะเกิดขึ้นสร้างผลกระทบมาก ก็ไม่ควรสร้างไปเลย
                  นอกจากนี้คณะกรรมการผู้ชํานาญการ (คชก.) ซึ่งแต่งตั้งมาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มี

                  นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งองค์ประกอบและที่มาของบุคคลที่เป็นคณะกรรมการขาดการมีส่วนร่วม

                  ของภาคประชาชน การทํางานของคณะกรรมการก็ไม่มีกลไกและกระบวนการตรวจสอบจากภายนอก
                  เช่น กรณีโครงการท่าเรือของ บริษัท เชพรอนฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะกรรมการผู้ชํานาญการได้

                  ทําการพิจารณา ๗ ครั้งและไม่ผ่านรายงาน แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนคณะกรรมการผู้ชํานาญการ
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155