Page 149 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 149

๑๓๕







                            -  ต้องมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทาง
                  ทะเลและชายฝั่ง รวมถึงการปรับปรุงระบบกฎหมายเพื่อให้มีความเหมาะสมกับการทําประมงตามสภาพ

                  พื้นที่ เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชาวประมงด้วยกัน และต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่าง

                  หน่วยงานเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีอยู่แล้ว

                            -  ต้องมีมาตรการบริหารจัดการ หรือควบคุม ดูแล การปล่อยน้ําเสียที่เกิดจาก

                  ภาคอุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง การเกษตรกรรม และน้ําทิ้งจากชุมชน รวมทั้งการควบคุม
                  สิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ําพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะที่เกิดจากการขยายตัวของแหล่งท่องเที่ยว

                  รีสอร์ท โฮมสเตย์ รวมถึงการขยายตัวของชุมชนที่คาดว่าจะเสี่ยงต่อการทําลายทรัพยากรทางทะเลและ

                  ชายฝั่ง ระบบนิเวศ ตลอดถึงวิถีชีวิต และวัฒนธรรม จารีตประเพณีของคนในพื้นที่




                  ๕.๕  ข้อเสนอต่อนโยบายการพัฒนาภาคใต้

                         โครงการได้ดําเนินการจัดเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการรวมพื้นที่ ๔ จังหวัดกรณีศึกษา คือ

                  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล ขึ้น ณ ปากน้ํารีสอร์ท
                  อําเภอละงู จังหวัดสตูล  ระหว่างวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน–๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สามารถสรุปข้อเสนอ

                  ต่อการพัฒนาภาคใต้ได้ดังนี้

                         ๑)  สร้างทางเลือกของนโยบายและแผนของแต่ละจังหวัดในเชิงรุก โดยการสร้างนโยบาย

                  ยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาระดับจังหวัดที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการกําหนดอนาคตของตนเองบนฐาน

                  ทรัพยากรตามแต่ละภูมินิเวศของท้องถิ่น เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่ต้องการอุตสาหกรรมเหล็กที่
                  เป็นนโยบายมาจากภายนอก แต่ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรที่ต่อเนื่องกับฐานผลผลิตของพื้นที่

                  จังหวัดสงขลาไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และสร้างทางเลือกของจังหวัดที่เป็นวาระของประชาชน

                  เช่น สงขลาจัดการตนเอง  และเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสตูลไม่ต้องการท่าเรือน้ําลึกปากบาราและ
                  อุตสาหกรรมหนัก แต่ต้องการปฏิรูปการพัฒนาไปด้วยแผนบนฐานทรัพยากรของคนจังหวัดสตูล ส่วน

                  จังหวัดนครศรีธรรมราชไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แต่ต้องการเป็นพื้นที่แหล่งอาหารของประเทศ


                         ๒)  ผลักดันให้มีการประกาศเขตคุ้มครองพื้นที่แหล่งผลิตอาหารภาคใต้ ทั้งนี้จังหวัดที่เป็น
                  พื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักในภาคใต้ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งสิ้น

                  เนื่องด้วยทําเลที่ตั้งของอุตสาหกรรมหนักต้องการพื้นที่สําหรับท่าเรือน้ําลึก ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ของ

                  สัตว์ทะเลและเป็นแหล่งอาชีพของประมงพื้นบ้านและพาณิชย์ รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สําคัญของ
                  ประเทศจนถึงส่งออกไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งปลาทูที่อ่าวแม่รําพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กั้ง

                  ในดอนต่าง ๆ ที่อ่าวทองคํา จังหวัดนครศรีธรรมราช หอยท้ายเภาที่อ่าวปากบารา จังหวัดสตูล รวมทั้ง
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154