Page 148 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 148
๑๓๔
มาตรการระยะสั้น ได้แก่
- ประกาศวาระจังหวัดสตูล เป็นเมือง “เกษตรสุขภาพและความมั่นคงทาง
อาหาร” (Healthy Green Clean and Food Security City)
- ออกนโยบายสนับสนุน “เกษตรสุขภาพ” ซึ่งปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
- ส่งเสริมกิจกรรมเกษตรชุมชน (Community Support Agriculture - CSA)
ตลาดสีเขียวในระดับชุมชน และจังหวัด
- จัดตั้งกองทุนสนับสนุน “เกษตรกรรมเพื่อคลังยาคลังอาหาร” จังหวัดสตูล
เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน หรือองค์กรเกษตรกรตระหนัก และมีส่วนร่วมในการจัดการด้านความมั่นคงทาง
อาหารและยา
มาตรการระยะยาว ได้แก่
- ต้องมีการจัดสรรสิทธิทํากินและที่ดินทํากิน เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ใน
การเกษตรอย่างเป็นธรรม
- สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย และจัดทําฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชพื้นบ้าน และ
ภูมิปัญญาการเกษตรจังหวัดสตูล (ตามภูมินิเวศ เขา-นา-เล)
- ออกนโยบาย “พฤกษาอาเซียน” อุทยานการเรียนรู้ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการ
จัดการที่ดินหรือพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมจังหวัดสตูล
- ออกนโยบายให้มีการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากภาค
เกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ และรักษาที่ดินทํากินของเกษตรกรจากการถูกขายทอดตลาด
๗) ส่งเสริมการศึกษาทางเลือก โดยจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย ซึ่งโรงเรียน
ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ จากการสอนหนังสือมาเป็นการสอนคน โดยเน้นการเรียนรู้ด้วย
ตนเอง นักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง โดยทางจังหวัดต้องส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
บริบทสังคม และสิ่งแวดล้อมของผู้เรียน ผ่านการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของชุมชน รวมทั้ง
ส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนภายใน จังหวัดสตูล เพื่อเรียนรู้อัตลักษณ์ บริบท ศาสนา วัฒนธรรม
ภายใต้แนวคิด “โรงเรียนรากัน (เกลอ) สโตย” นอกจากนี้ ทางจังหวัดต้องส่งเสริมระบบโรงเรียนคู่แฝด
ระหว่างประเทศ เพื่อสร้างการเรียนรู้แก่นักเรียน และส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเตรียมรับมือพิบัติภัย
๘) วางแผนจัดการทรัพยากรทะเล และชายฝั่ง เพื่อให้จังหวัดสตูลมีการพัฒนาที่
เป็นไปอย่างมีศักยภาพ โดยให้ดําเนินการดังนี้