Page 147 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 147

๑๓๓







                  เพื่อร่วมกันกําหนดยุทธศาสตร์และประเด็นการปฏิรูปบนฐานการพัฒนาศักยภาพจังหวัดสตูล ซึ่ง
                  สามารถสรุปข้อเสนอต่อการปฏิรูปบนฐานการพัฒนาศักยภาพจังหวัดได้ดังนี้


                                ๑)  รัฐต้องทบทวนแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้และโครงการขนาดใหญ่ที่กําลัง
                  จะเกิดขึ้นที่ จังหวัดสตูล เช่น โครงการสะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูล โครงการท่าเรือน้ําลึกปากบารา

                  และโครงการอื่น ๆ เนื่องจากเป็นโครงการที่คาดว่าจะทําให้เกิดความสูญเสียทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ

                  และสิ่งแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยว แหล่งอาหาร และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชนการเปลี่ยนแปลง
                  ของสภาพแวดล้อม และวิถีวัฒนธรรมของภาคใต้อย่างมหาศาล


                                ๒)  รัฐต้องสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสตูลบนฐานต้นทุนทางสังคม
                  ทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพของพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง เช่น

                  การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การเกษตรแบบสมดุล และการประมงอย่างรับผิดชอบ เป็นต้น


                                ๓)  ต้องจัดให้มีการสํารวจ และศึกษาพื้นที่คุ้มครองเฉพาะ เพื่อประกาศให้เป็นเขต
                  อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในระดับภูมินิเวศ โดยเฉพาะพื้นที่วางไข่ของปลา พื้นที่สัตว์น้ํา

                  หายาก แหล่งปะการัง แหล่งหญ้าทะเล พื้นที่ที่มีความหลากหลายของทรัพยากร ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิต

                  อาหารทางทะเลที่มีความสําคัญของจังหวัดสตูล เช่น พื้นที่เกาะสาหร่าย  อ่าวปากบารา  อ่าวขอนคลาน
                  อ่าวแหลมสน อ่าวตันหยงโป ฯลฯ


                                ๔)  ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน และสนับสนุนกลุ่ม
                  เหล่านั้นให้ดูแล รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น การทําธนาคารปูไข่ ธนาคารกั้ง

                  แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ํา บ้านปลา และส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มองค์กร

                  ชาวประมงพื้นบ้าน

                                ๕)  สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดต้องส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่

                  เกี่ยวข้องเรียนรู้รูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านกระบวนการลงพื้นที่จริง ร่วมกิจกรรม และนํา
                  รูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวภายใต้

                  ศักยภาพเชิงธรรมชาติที่มีอยู่ และพัฒนาศักยภาพชุมชนสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างต่อเนื่อง

                  จริงจัง มิใช่ชุมชนเป็นเพียงแหล่งถูกท่องเที่ยวเช่นในปัจจุบัน

                                ๖)  ส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมีข้อเสนอที่สําคัญดังนี้คือ ให้ทบทวน

                  ยุทธศาสตร์ และเพิ่มเติมยุทธศาสตร์ของจังหวัด โดยเฉพาะยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืน และการจัด

                  แบ่งเขตพื้นที่ (Zoning) พื้นที่ด้านการเกษตร และกําหนดพื้นที่คุ้มครองที่เป็นฐานอาหาร ตามบทบัญญัติ
                  การปกครองท้องถิ่น กฎหมายต่าง ๆ และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                  พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยกําหนดให้มีมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152