Page 24 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 24
ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำารวจแห่งท้องที่ที่บุคคลผู้ถูกอ้างว่า
ถูกกระทำาอยู่ หรือบุคคลอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
จากบุคคลดังกล่าวนำาเจ้าพนักงาน และผู้เชี่ยวชาญ เก็บพยานหลักฐาน
ทางวิทยาศาสตร์โดยพลัน เพื่อนำาตัวบุคคลผู้ถูกอ้างถูกกระทำาพร้อมทั้ง
พยานหลักฐานมาศาลเพื่อไต่สวนด้วยก็ได้ หากเป็นที่เชื่อแก่ศาลว่ามี
การกระทำาต่อบุคคลดังที่กล่าวอ้าง ให้ศาลมีคำาสั่งกำาหนดมาตรการ
คุ้มครองชั่วคราวเพื่อมิให้บุคคลนั้นถูกกระทำาอีกต่อไป และศาลอาจมี
คำาสั่งให้ผู้กระทำาจัดการแก้ไขเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่
บุคคลผู้ถูกกระทำาตามที่เห็นสมควรก็ได้
................................................”
๒.๒.๓) ในการประชุมดังกล่าว (เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม
๒๕๕๖) ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีความเห็นต่อร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ ดังนี้
(๑) ถ้อยคำาตามมาตรา ๑๖๖/๑ อาจยังไม่สอดคล้องกับ
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ดังนี้ (๑.๑) วรรคหนึ่งของมาตรา ๑๖๖/๑
ประเภทของเจ้าพนักงานของรัฐที่กำาหนดไว้ในร่างกฎหมายดังกล่าว
อาจยังไม่ครอบคลุมเจ้าพนักงานของรัฐทุกประเภทตามความมุ่งหมาย
ของอนุสัญญาฯ เช่น เจ้าพนักงานของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันจิตเวช
เป็นต้น (๑.๒) วรรคหนึ่ง (๓) ที่กำาหนดให้การกระทำาความผิดฐานทำาร้าย
ร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำารับอันตรายต่อจิตใจในระยะยาวเป็น
การกระทำาทรมาน น่าจะยังไม่สอดคล้องกับนิยามของการทรมาน
ตามข้อ ๑ ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ที่กำาหนดว่า ............
การกระทำาใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำาให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์
ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด...
(๑.๓) วรรคสอง ยังไม่ครอบคลุมเจตนาพิเศษตามที่กำาหนดไว้ในอนุสัญญา
22 การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย