Page 21 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 21
๒.๑.๒) กระทรวงการต่างประเทศ เห็นควรเร่งรัดการ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมานฯ การไม่มีนิยามและฐานความผิดว่าด้วยการกระทำาทรมาน
ทำาให้เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
๒.๑.๓) สำานักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
เห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาโดยเพิ่มนิยามคำาว่า
ทรมาน และความผิดฐานทรมานนั้น ไม่เพียงพอ ควรมีการทบทวนและ
แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น รวมทั้งมีกลไกป้องกันการทรมาน
้
อื่นด้วย เช่น การเยียวยา การป้องกันการเกิดซำา การคุ้มครองพยาน การ
พิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ การคำานึงถึงสิทธิของผู้ถูกกระทำา
ทรมาน
๒.๑.๔) นายกุลพล พลวัน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
ให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประเทศไทยจำาเป็นต้องแก้ไข
กฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ซึ่ง
สามารถทำาได้ ๒ วิธี คือ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาและ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ (๒) ยกร่างกฎหมายใหม่
ในชั้นนี้ หากพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาและประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็จะทำาให้ไม่ต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่และ
งบประมาณเนื่องจากรัฐมีกลไกด้านนี้อยู่แล้ว
๒.๑.๕) ผู้แทนมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (ภาคประชา
สังคม) เห็นว่า ควรมีพระราชบัญญัติป้องกันการทรมานขึ้นเป็นกฎหมาย
เฉพาะ แยกเป็นพระราชบัญญัติต่างหาก โดยให้มีคณะกรรมการป้องกัน
การทรมาน ประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐและผู้ทรงคุณวุฒิ สำานักงาน
คณะกรรมการป้องกันการทรมานเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยเฉพาะ
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 19
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย