Page 20 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 20

เรื่องการอนุวัติกฎหมายภายในตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ จาก

            หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และภาคประชาสังคม เมื่อวันที่
            ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖ ตามลำาดับ มีสาระ
            สำาคัญโดยสรุป คือ

                           ๒.๑.๑)  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวง
            ยุติธรรม มีความเห็นเป็น ๒ แนวทาง
                     (๑)   แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยเพิ่มนิยาม
                            ๘
            คำาว่า “การทรมาน   ” และ “ความผิดฐานกระทำาทรมาน” และแก้ไข
            เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำาหนดให้ผู้ถูกกระทำา
            ด้วยการทรมานสามารถยื่นคำาร้องต่อศาลเพื่อให้ระงับ เพิกถอนการกระทำา

            นั้น และมีสิทธิยื่นคำาร้องขอการเยียวยาความเสียหาย
                     (๒)   แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยเพิ่มคำานิยาม

            การทรมานและความผิดฐานกระทำาทรมาน และแก้ไขเพิ่มเติมพระราช
            บัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลย
            ในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยเพิ่มความผิดฐานกระทำาทรมานเพื่อให้

            ผู้เสียหายจากความผิดฐานนี้ขอรับค่าตอบแทนได้ โดยไม่ต้องแก้ไข
            ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


            ๘   ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๖)
                ของมาตรา ๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
                “(๑๖) “การทรมาน” หมายความว่า การกระทำาใดโดยมีเจตนาให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างร้าย
                แรงไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจต่อบุคคลใด  ซึ่งกระทำาโดยเจ้าพนักงานหรือด้วยการยุยงหรือโดยยินยอมหรือรู้เห็น
                เป็นใจของเจ้าพนักงาน  หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำาแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการ  เพื่อความ
                ประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้
                  ๑.  ให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำาสารภาพจากบุคคลนั้นหรือจากบุคคลที่สาม
                  ๒.  ลงโทษบุคคลนั้นสำาหรับการกระทำาที่บุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามได้กระทำาหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำา
                  ๓.  ข่มขู่ให้กลัวหรือบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม
                  ๔.  กระทำาการด้วยประการใดๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติ
                  ทั้งนี้  ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจากหรืออันเป็นผลปกติจากหรืออันสืบเนื่องมาจาก
                การลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย”


       18      การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
               หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
               รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25