Page 19 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 19
๑.๓) การประกาศใช้กฎหมายด้านความมั่นคงในบางพื้นที่
เช่น
๑.๓.๑) พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์
ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งให้อำานาจนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์
ฉุกเฉินและให้ใช้กำาลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พลเรือน ตำารวจ ทหาร
ร่วมกันป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง หรือฟื้นฟู ช่วยเหลือประชาชน ๕
๑.๓.๒) พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งให้จัดตั้งกองอำานวยการรักษาความมั่นคง
ภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี มีอำานาจออก
๖
ข้อกำาหนดหรือเงื่อนไขที่จำากัดสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานบางประการ และ
๑.๓.๓) พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช
๒๔๕๗ ซึ่งให้อำานาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารหลายประการอันจำากัดสิทธิและ
เสรีภาพของบุคคล เช่น ตรวจค้น เกณฑ์แรงงานหรือสิ่งของ ห้ามบุคคล
๗
ดำาเนินการต่างๆ เป็นต้น
การประกาศใช้กฎหมายเหล่านี้เป็นการเปิดโอกาสให้
เจ้าหน้าที่รัฐอาจใช้อำานาจเกินกว่าเหตุ ในทางกลับกันก็ทำาให้ผู้ถูกกล่าวหา
และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมมีโอกาสถูกทำาร้าย หรือได้รับการปฏิบัติอย่าง
ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นธรรม
๒) แนวทางอนุวัติกฎหมายภายในของประเทศไทย
๒.๑) การรับฟังความเห็นจากหน่วยงานของรัฐ นักวิชาการ
และภาคประชาสังคม คณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังข้อมูลและความเห็น
๕ พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๕, ๖ และ ๙
๖ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๘
๗ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มาตรา ๘-๑๕ ทวิ
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 17
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย