Page 97 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 97
แก่ตนเองหรือผู้อื่นในการกระทำาความผิดทางอาญา ผู้กระทำาต้องระวางโทษจำาคุกตั้งแต่สามปี
ถึงจำาคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงห้าแสนบาท
ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำาความผิดตามวรรคสามเป็นมอร์ฟีน
หรือโคคาอีน ผู้กระทำาต้องระวางโทษเพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง และถ้าเป็นการกระทำาต่อหญิง หรือต่อ
บุคคล ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้กระทำาต้องระวางโทษจำาคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาท
ถึงห้าล้านบาท
ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำาความผิดตามวรรคสามเป็นเฮโรอีน ผู้กระทำา
ต้องระวางโทษเป็นสองเท่า และถ้าเป็นการกระทำาต่อหญิงหรือต่อบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้กระทำาต้องระว�งโทษประห�รชีวิต
(ยาเสพติดประเภทที่ ๑ เป็นยาเสพติดชนิดร้ายแรง ที่สำาคัญ คือ เฮโรอีน แอมเฟตามีน
อนุพันธ์แอมเฟตามีน หรือยาบ้า เอ็กซ์ตาซี เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือแอลเอสดี และยาอีหรือยาเลิฟ)
จากข้อกำาหนดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้กำาหนด
ให้ความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่มีกำาหนดโทษสูงสุด คือ การต้องโทษประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม
จากข้อกำาหนดของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้กำาหนดให้ผู้กระทำาผิดเกี่ยวกับยาเสพติดประกอบด้วย
ผลิต นำาเข้า หรือส่งออก รวมทั้งจำาหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำาหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท ๑ จะต้องโทษประหารชีวิต อันแสดงให้เห็นว่าผู้ที่กระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ในประเภทที่ ๑ ที่เป็นการกระทำาผิดที่รุนแรงจะต้องรับโทษประหารชีวิต ซึ่งหากพิจารณาตาม
ข้อกำาหนดของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เป็นกฎหมายที่กำาหนดไว้โดยมีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์
ขององค์การสหประชาชาติที่ได้กำาหนดขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรง คือ พฤติกรรมการกระทำาผิด
ที่มีเจตนาในการฆาตกรรมโดยมีผลทำาให้ผู้อื่นเสียชีวิต เนื่องจากพฤติกรรมการผลิตหรือการจำาหน่าย
ยาเสพติดส่งผลทำาให้ผู้เสพยาเสพติดมีปัญหาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตอันส่งผลต่อการเสียชีวิต
ในระยะยาว หรือผู้ติดยาเสพติดอาจเปรียบเสมือนผู้ที่ตายทั้งเป็น เนื่องจากไม่สามารถควบคุมสภาพ
ร่างกาย และสภาพจิตใจได้ นอกจากนี้ การเสพยาเสพติดยังส่งผลทางอ้อมต่อประชาชนทั่วไปในสังคม
เนื่องจากผู้เสพยาเสพติดอาจประกอบอาชญากรรม เพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดเพื่อเสพ นอกจากนี้
ผู้ที่เสพยาเสพติดส่วนหนึ่งเมื่อเสพยาเสพติดแล้วอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง ทำาร้ายร่างกาย หรือฆาตกรรม
บุคคลรอบข้างได้ เพราะยาเสพติดที่ทำาให้เกิดอาการประสาทหลอน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า
การกำาหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้ต้อง
โทษประหารชีวิตมีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ขององค์การสหประชาชาติที่ได้กำาหนดขอบเขต
ของอาชญากรรมร้ายแรงดังกล่าวข้างต้น เพราะการผลิต หรือค้ายาเสพติด เปรียบเสมือนการ
เจตนาในการฆาตกรรมบุคคลในสังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม
แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่ต้องโทษประหารชีวิต คือ ผู้ที่กระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
หรือการค้ายาเสพติดรายใหญ่อย่างแท้จริง การประหารชีวิตบุคคลดังกล่าว คือ การประหารชีวิต
ผู้ที่กระทำาผิดตามขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรงตามข้อกำาหนดขององค์การสหประชาชาติ
84 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ