Page 100 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 100

๒.๔.๕ กฎหม�ยระหว่�งประเทศ

                                     สำาหรับความพยายามในการยกเลิกโทษประหารชีวิตในกรอบขององค์การระหว่าง
                     ประเทศ โดยนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำาคัญกับเรื่อง

                     การลงโทษประหารชีวิต แต่มิได้สนับสนุนให้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตโดยทันที ในกฎบัตร
                     สหประชาชาติได้ระบุเจตจำานงของประเทศผู้ร่วมก่อตั้งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ

                     พื้นฐาน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ หลังจากนั้นได้มีความพยายามต่าง ๆ ในการคุ้มครองสิทธิ
                     มนุษยชนและการยกเลิกโทษประหารชีวิตเรื่อยมา  โดยมีพัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ

                     ดังนี้
                                     •  ค.ศ.  ๑๙๔๘  องค์การสหประชาชาติได้มีมติยอมรับปฏิญญาสากลว่าด้วย

                                        สิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งเป็นปฏิญญา
                                        ที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนจากการสูญเสียชีวิต (Deprivation of Life)

                                        และจะไม่มีบุคคลใดได้รับการลงโทษที่ทารุณโหดร้าย หรือเลวทราม (cruel or
                                        degrading  punishment)  แม้ว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                                        จะไม่ห้ามหรือให้ยกเลิกการลงโทษประหารชีวิตไว้อย่างชัดเจนก็ตาม หากแต่
                                        มีการตีความว่า  การลงโทษประหารชีวิตถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิต่อสิทธิ

                                        ขั้นพื้นฐานดังกล่าวนี้
                                     •  ค.ศ.  ๑๙๖๖  องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย

                                        สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  (International  Covenant  on  Civil
                                        and Political Rights : ICCPR) กติกานี้บัญญัติว่า จะไม่มีบุคคลใดถูกทำาให้

                                        สูญเสียชีวิตโดยปราศจากเหตุผล  การลงโทษประหารชีวิตจะไม่นำาไปใช้
                                        แก่สตรีตั้งครรภ์  หรือบุคคลที่อายุต่ำากว่า  ๑๘  ปี  ในขณะที่กระทำาความผิด

                                        และจะไม่มีบุคคลใดถูกทรมานอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
                                     •  ค.ศ. ๑๙๘๔ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN Economic

                                        and Social Council : ECOSOC) มีมติยอมรับมาตรการปกป้องคุ้มครอง
                                        และให้หลักประกันในสิทธิของผู้ที่จะได้รับโทษประหารชีวิต  (Safeguards

                                        Guaranteeing Protecting of the Rights of Those Facing the Death
                                        Penalty)  ซึ่งในปีเดียวกันนี้  มตินี้ได้รับฉันทามติจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่

                                        แห่งสหประชาชาติ  (UN  General  Assembly)  ภายใต้มาตรการปกป้อง
                                        คุ้มครองนี้  บุคคลที่มีอายุต่ำากว่า  ๑๘  ปี  จะไม่ถูกลงโทษประหารชีวิต

                                        และบุคคลที่ถูกลงโทษประหารชีวิตมีสิทธิที่จะอุทธรณ์และร้องขออภัยโทษ
                                        หรือร้องขอโทษที่เบากว่า











                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 87
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105