Page 99 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 99

ข้อที่ ๑๖ ของอนุสัญญาได้บัญญัติไว้ว่า  ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐรับที่จะป้องกันมิให้
                  มีการกระทำาอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่ย่ำายีศักดิ์ศรีที่ไม่ถึงกับ

                  เป็นการทรมานตามที่นิยามไว้ในข้อ ๑ เกิดขึ้นในอาณาเขตภายใต้เขตอำานาจรัฐของตน เมื่อการกระทำา

                  เช่นว่าได้กระทำาโดย หรือด้วยการยุยง หรือความยินยอม หรือความรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                  หรือบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำาแหน่งทางการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  พันธกรณีทั้งปวงในข้อ  ๑๐
                  ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ ให้นำามาใช้บังคับ โดยการใช้แทนที่การกล่าวถึงการทรมาน หรือการ

                  กล่าวถึงการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำายีศักดิ์ศรี

                                  ขณะนี้มีการนำาอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ  มาเป็นสาเหตุในการยกเลิก
                  โทษประหารชีวิตด้วย  โดยการลงโทษประหารชีวิตเป็นข้อห้ามของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน
                  และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย  ไร้มนุษยธรรม  หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี  (Convention

                  against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT)

                  เนื่องจากการลงโทษประหารชีวิตเป็นการปฏิบัติที่ต่ำากว่ามาตรฐานสากลและเป็นการปฏิบัติของรัฐ
                  ที่มีการละเมิดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตของมนุษย์  ดังนั้น  การลงโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่
                  ไม่ควรมีการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดเนื่องจากเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำายีศักดิ์ศรี

                  ความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ตาม อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่น

                  ที่โหดร้ายไร้ มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel,
                  Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT) ยังได้มีข้อกำาหนดต่อการปฏิบัติ
                  ที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตที่เป็นการทรมาน หรือการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมจะกระทำาไม่ได้ รวมทั้ง

                  สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่มีต่อนักโทษประหาร อาทิ ระยะเวลาที่ยาวนาน

                  ในการรอการพิจารณาคดี  การถูกคุมขังเดี่ยว  สภาพแวดล้อมทางเรือนจำาที่ไม่ดี  การขาดโอกาส
                  ในการศึกษา หรือการไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ
                                  ดังนั้น  อาจสรุปได้ว่าอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน  และการประติบัติหรือ

                  การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and

                  Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT) มีความเชื่อว่า
                  การประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่มีความโหดร้ายที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  โดยการลงโทษ
                  ประหารชีวิตเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งที่ต้องห้ามโดยเด็ดขาด  นอกจากนี้  การประหารชีวิตเป็นการ

                  ลงโทษที่เป็นการกระทำาที่มีความโหดร้าย  ไร้มนุษยธรรม  โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อม

                  ที่เกี่ยวข้องกับนักโทษประหารนับตั้งแต่การรอการพิจารณาคดี  สภาพแวดล้อมขณะถูกควบคุมตัว
                  ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของนักโทษประหาร  รวมทั้งวิธีการประหารชีวิต
                  ที่แสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายทารุณ ดังนั้น การประหารชีวิตจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมีการนำามาใช้ในการ

                  ปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิด (Juan E. Mendez, 2012)











         86    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104