Page 98 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 98

หากแต่สำาหรับผู้ที่ต้องโทษในคดียาเสพติดที่ต้องโทษประหารชีวิตโดยส่วนใหญ่ของประเทศไทย
                     มักเกิดจากการครอบครองยาเสพติดไว้จำานวนมากตามที่กฎหมายกำาหนดให้ต้องโทษประหารชีวิต

                     หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ต้องโทษประหารชีวิตที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทยมักเกี่ยวข้อง

                     กับการกระทำาผิดในคดียาเสพติดโดยการครอบครอบยาเสพติด หากแต่ไม่ใช่ผู้ผลิต หรือผู้ค้ารายใหญ่
                     อย่างแท้จริงมากนัก โดยผู้ที่ถูกจับกุมและดำาเนินคดีส่วนหนึ่งมักเป็นลิ่วล้อในขบวนการค้ายาเสพติด
                     โดยอาจเป็นเพียงผู้รับจ้างลำาเลียง ขนยาเสพติด หรือเป็นผู้ค้ายาเสพติดที่ไม่ใช่พ่อค้ารายใหญ่อย่าง

                     แท้จริง

                             จึงอาจกล่าวได้ว่า หากผู้กระทำาผิดในคดียาเสพติดที่ต้องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
                     เป็นผู้ผลิต  หรือผู้ค้ารายใหญ่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างแท้จริง  การประหารชีวิต
                     ผู้กระทำาผิดดังกล่าวก็มีความเหมาะสมตามขอบเขตของอาชญากรรมร้ายแรงตามข้อกำาหนด

                     ขององค์การสหประชาชาติ  หากแต่ปัจจุบันผู้ต้องโทษประหารชีวิตในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

                     มักเกิดจากการมียาเสพติดจำานวนมากไว้ในครอบครอง โดยอาจเป็นเพียงผู้รับจ้างส่งยาเสพติดเท่านั้น
                     ซึ่งไม่ใช่ผู้ผลิต หรือผู้ค้ายาเสพติดรายสำาคัญอย่างแท้จริง ซึ่งแม้ผลของการกระทำาผิดจะส่งผลทำาให้
                     เกิดผลกระทบต่อผู้เสพและประชาชนทั่วไปเช่นเดียวกัน  หากแต่ลักษณะพฤติกรรมการกระทำาผิด

                     ของบุคคลดังกล่าวข้างต้นมีความแตกต่างจากผู้ผลิต  หรือผู้ค้ารายใหญ่ที่มีเจตนาในการกระทำาผิด

                     และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างชัดเจน  ซึ่งหากมีการประหารชีวิตบุคคลที่เป็นผู้ผลิต  หรือ
                     ผู้ค้ารายใหญ่ได้ จะเป็นการตัดวงจรของค้ายาเสพติดให้หมดสิ้นไปที่ต้นเหตุ แต่หากมีการประหารชีวิต
                     ผู้ที่ครอบครองยาเสพติดจำานวนมากไว้ หากแต่ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้ค้ารายใหญ่อย่างแท้จริง ก็ไม่อาจ

                     ทำาให้การประหารชีวิตเป็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดแต่ประการใด  ดังนั้น  จึงอาจกล่าวได้ว่า

                     หากประเทศไทยมีการใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับผู้กระทำาผิดในคดียาเสพติดที่มีลักษณะเป็นผู้ผลิต
                     หรือผู้ค้ารายใหญ่อย่างแท้จริง  จะเป็นการประหารชีวิตผู้ที่กระทำาผิดในอาชญากรรมร้ายแรงตาม
                     ข้อกำาหนดขององค์การสหประชาชาติ  แต่หากประหารชีวิตผู้ที่ครอบครองยาเสพติดจำานวนมาก

                     ที่เปรียบเสมือนลิ่วล้อของขบวนการค้ายาเสพติด ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นการประหารชีวิตผู้ที่ประกอบ

                     อาชญากรรมที่ไม่ใช่กระทำาผิดในอาชญากรรมร้ายแรงตามข้อกำาหนดขององค์การสหประชาชาติ


                             ๒.๔.๔ อนุสัญญ�ต่อต้�นก�รทรม�น  และก�รประติบัติหรือก�รลงโทษอื่น

                                     ที่โหดร้�ย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำ�ยีศักดิ์ศรี (Convention against
                                     Torture  and  Other  Cruel,  Inhuman  or  Degrading

                                     Treatment or Punishment : CAT)
                                     สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการ

                     ประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๗

                     และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่  ๒๖  มิถุนายน  ๒๕๓๐  ประกอบด้วยวรรคอารัมภบท  และบทบัญญัติ
                     ๓๓ ข้อ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน และมีผลบังคับใช้ในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 85
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103