Page 177 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 177
๔.๕.๓ ถ้�มีก�รประห�รชีวิตผู้บริสุทธิ์จะไม่ส�ม�รถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข
ได้เลย
จากแนวคิดของศาสนายิวที่กล่าวว่า ข้อความของนักปราชญ์ชาวยิว Maimonides
ที่กล่าวว่า “การปล่อยคนกระทำาผิด จำานวน ๑,๐๐๐ คน เป็นสิ่งที่ดีกว่าการนำาคนบริสุทธิ์เพียงคนเดียว
มาลงโทษจนกระทั่งเสียชีวิต” (Capital Punishment, 2008) เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ว่า
หากเกิดความผิดพลาดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมต่อการประหารชีวิตจะไม่สามารถแก้ไขได้
และเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมว่า
ผู้ที่ถูกประหารชีวิตเป็นผู้ที่กระทำาผิดจริงและมีพฤติกรรมการกระทำาผิดที่สมควรได้รับ
การประหารชีวิตและการดำาเนินงานของกระบวนการยุติธรรมมีความเชื่อมั่นว่าไม่มีความผิดพลาด
เกิดขึ้นเลย ประชาชนในสังคมอาจไม่มีปัญหาต่อการใช้โทษประหารชีวิต หากแต่ในปัจจุบัน
คงจะเป็นที่ยอมรับว่ามีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศ
หรือประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากกรณีการจับผิดตัว หรือกรณีของการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิด
ตั้งแต่ขั้นตอนของการจับกุมที่อาจไม่ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิผู้กระทำาผิดตั้งแต่เริ่มต้น จนทำาให้
ไม่อาจมั่นใจได้ว่ากระบวนการยุติธรรมมีกระบวนการในการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่มีความเชื่อถือ
ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งตราบใดที่กระบวนการยุติธรรมยังไม่อาจสร้างความเชื่อมั่นต่อการนำาตัว
ผู้กระทำาผิดมาลงโทษได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น การลงโทษผู้กระทำาผิดด้วยการประหารชีวิต
จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมีในสังคม เพราะอาจมีการนำาตัวผู้บริสุทธิ์มาลงโทษได้ และหากมีการกระทำา
ดังกล่าวเกิดขึ้นการประหารชีวิตจะไม่สามารถทำาให้กระบวนการยุติธรรมสามารถแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด
ได้เลย
๔.๕.๔ เหตุผลท�งด้�นศีลธรรม
สำาหรับเหตุผลทางด้านศีลธรรมที่ทำาให้ควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต คือ การประหาร
ชีวิตเป็นการกระทำาที่ขัดต่อหลักศาสนาและศีลธรรม โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชน
นับถือพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ จากข้อกำาหนดของศีลข้อที่ ๑ ของพระพุทธศาสนา คือ
ห้ามฆ่าสัตว์ ซึ่งการประหารชีวิตเป็นการทำาลายชีวิตของผู้กระทำาผิด จึงเป็นการกระทำาที่ขัดต่อ
หลักศาสนาและศีลธรรม จากข้อกำาหนดของศาสนา การที่จะทำาให้สังคมสงบสุขได้จะต้อง
มีการให้อภัยทาน โดยการยกเลิกโทษประหารชีวิตจะเป็นการกระทำาที่เป็นการให้อภัย
และให้โอกาสผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสแก้ไขตัวเองและได้มีโอกาสในการชดใช้ความผิดให้แก่
เหยื่ออาชญากรรม ดังเช่นกรณีการกระทำาผิดขององคุลีมาลที่ได้ฆ่าคนจำานวนมากเกือบ
๑ พันคน หากแต่ได้รับอภัยทานให้มีโอกาสแก้ไขพัฒนาจิตใจตนเองด้วยการได้บวช
ในพระพุทธศาสนาจนกระทั่งได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากการ
เวียนว่ายตายเกิด อันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ว่าหากผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสแก้ไขฟื้นฟู อาจทำาให้
164 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ