Page 178 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 178
ผู้กระทำาผิดที่ไม่ได้มีความเป็นอาชญากรอย่างแท้จริงได้มีโอกาสในการพัฒนาแก้ไขความประพฤติ
ของตนเอง จนกระทั่งสามารถกลับคืนเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคมต่อไป
๔.๖ ก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิตในประเทศไทย : จุดยืนของแต่ละ
ฝ่�ยอยู่ตรงไหน
โทษประหารชีวิต นับเป็นโทษที่มีการนำามาใช้ปฏิบัติในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน โดยเป็น
การลงโทษที่มุ่งลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน ให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำาไป อีกทั้งยังเป็นการลงโทษ
ที่มุ่งสร้างความหวาดกลัวผู้ที่คิดจะทำาผิด เพื่อให้เกิดการยับยั้งอันจะนำามาซึ่งความสงบเรียบร้อย
ในสังคม โทษประหารชีวิตจึงถูกนำามาใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในยุคที่มีการใช้อำานาจ
ตามประกาศคณะปฏิวัติ จะมีการประหารชีวิตอยู่ในที่เกิดเหตุในทันทีที่มีการจับกุมผู้กระทำาผิดได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแนวคิดในการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดเปลี่ยนไป สังคมเริ่มมอง
ถึงปัจจัยต่าง ๆ ในสังคม หล่อหลอมขัดเกลาผู้กระทำาผิด ประกอบกับกระแสสิทธิมนุษยชน
ที่แพร่หลายทั่วไป ทำาให้เกิดกระแสการผลักดันให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต แม้จะยังไม่ถือว่า
เป็นเสียงข้างมากในสังคมไทย แต่ก็ได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในวงการวิชาการ
และผู้คนสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ดังนั้น เรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิตจึงเริ่มมีการถกเถียงกัน
ในสังคมไทยมากขึ้น รวมตลอดจนถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะผลักดันให้มีการยกเลิก
โทษประหารชีวิต จึงนำาเสนอแนวคิด จุดยืนและการเคลื่อนไหวในการผลักดันให้มีการยกเลิก
โทษประหารชีวิตและแนวคิดจุดยืน ตลอดจนเงื่อนไขในการต่อต้านของแต่ละฝ่าย
ฝ่�ยที่ ๑ ฝ่�ยคัดค้�นก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต
กล่าวได้ว่า ในปัจจุบันแม้หนทางในการนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
ดูมีความคืบหน้าในทางที่ดีขึ้น แต่กระแสต่อต้านและคัดค้าน โดยเฉพาะจากสาธารณชนยังคง
มีอยู่สูงมาก ผลสำารวจในงานวิจัยหลายครั้งแสดงถึงเหตุผลของกลุ่มนี้ว่าต้องการให้คง
โทษประหารชีวิตไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยในสังคม โดยให้โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือ
ในการยับยั้งการกระทำาผิดและตอบแทนผู้กระทำาผิดให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำา ซึ่งจะเห็นได้ว่า
เป็นเรื่องการทัศนคติและค่านิยมที่ต้องการลงโทษแบบแก้แค้นทดแทนให้เกิดความยุติธรรม
โดยเฉพาะต่อผู้เสียหายจากอาชญากรรมซึ่งควรได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกัน
ในความรู้สึกของฝ่ายนี้ เห็นว่าปัจจุบันมีการดูแลและให้การคุ้มครองสิทธิของผู้กระทำาผิด
มากกว่าการคำานึงถึงความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยส่วนรวม
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมที่ประชาชนส่วนใหญ่
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 165