Page 176 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 176
ข้างต้น อาจเป็นการแสดงออกถึงความไม่ยุติธรรมของสังคมและของกระบวนการยุติธรรม
ที่ทำาให้ผู้ที่ไม่มีโอกาสในชีวิตต้องจบชีวิตจากการกระทำา โดยที่ไม่ได้รับโอกาสจากสังคมในการให้
ความช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสิ้น อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติของสังคมที่มีการลงโทษ
หรือประหารชีวิตผู้ที่มีฐานะยากจน มีการศึกษาไม่สูง มีสถานภาพทางสังคมไม่สูง หรือเป็นผู้ที่
ขาดโอกาสที่ดีของสังคม โดยมาตรการการลงโทษประหารชีวิตเป็นมาตรการที่ไม่ให้โอกาสผู้ที่
ขาดโอกาสในชีวิตได้มีโอกาสในการแก้ไขตัวเองได้อีกเลย
๔.๕ เหตุผลสำ�คัญต่อก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต
ในการยกเลิกโทษประหารชีวิต มีเหตุผลสำาคัญ ดังนี้
๔.๕.๑ โทษประห�รชีวิตไม่ส�ม�รถยับยั้งอ�ชญ�กรรมได้อย่�งแท้จริง
แม้จะมีแนวความคิดที่ต้องการคงโทษประหารชีวิตไว้ในสังคม เพราะเห็นว่าหากมีการ
คงโทษประหารชีวิตไว้ในสังคมจะทำาให้คนที่คิดจะกระทำาผิดเกิดความเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิต
ที่จะได้รับและจะไม่กระทำาผิด หากแต่จากผลการศึกษาในปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่าโทษประหารชีวิต
ไม่สามารถยับยั้งอาชญากรรมได้อย่างแท้จริง เพราะการมีโทษประหารชีวิตไม่ได้ทำาให้ผู้ที่คิด
จะกระทำาผิด หรืออาชญากรมีความเกรงกลัวต่อโทษแต่ประการใด
ดังนั้น หากมีการคงโทษประหารชีวิตไว้ในสังคมก็ไม่สามารถที่จะยับยั้งอาชญากรรมได้
อย่างแท้จริง
๔.๕.๒ ส�ม�รถใช้ม�ตรก�รลงโทษผู้กระทำ�ผิดในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นก�ร
ตัดโอก�สในก�รกระทำ�ผิดของอ�ชญ�กร
สำาหรับการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อเป็นการตัดโอกาสในการกระทำาผิดของอาชญากร
ที่กระทำาผิดในคดีที่มีความรุนแรงนั้น หากแต่แท้จริงแล้วโทษประหารชีวิตไม่ใช่วิธีการลงโทษ
วิธีเดียวในการตัดโอกาสผู้กระทำาผิด โดยสามารถใช้มาตรการการลงโทษรูปแบบอื่น ๆ แทนการ
ลงโทษประหารชีวิต อาทิ การลงโทษจำาคุกตลอดชีวิต หรือการจำาคุกที่มีระยะเวลาแน่นอน
โดยที่ผู้ต้องโทษประหารชีวิตจะไม่สามารถได้รับการลดโทษ หรืออภัยโทษจนกระทั่งผู้ต้อง
โทษประหารชีวิตไม่มีศักยภาพในการประกอบอาชญากรรม หรือทำาอันตรายต่อสังคมอีกต่อไป
ซึ่งการจำาคุกที่มีระยะเวลาที่แน่นอนดังกล่าวจะเป็นมาตรการที่สำาคัญในการตัดโอกาสผู้กระทำาผิด
ที่มีกมลสันดานเป็นอาชญากรอย่างแท้จริงออกจากสังคมได้เช่นเดียวกับการใช้โทษประหารชีวิต
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 163