Page 175 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 175
- นักโทษประห�รชีวิตในประเทศไทยส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่มีสถ�นภ�พท�งสังคมไม่สูง
ลักษณะที่สำาคัญอีกประการหนึ่งของผู้ต้องขังในประเทศไทย รวมทั้งนักโทษประหาร
คือ ผู้ต้องขังที่ต้องโทษจำาคุก หรือต้องโทษประหารชีวิต มักเป็นผู้ที่มีสถานภาพทางสังคมไม่สูง
กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีการศึกษาไม่สูง มีรายได้ไม่สูง
ดังจะเห็นได้จากผลการศึกษาของสุมนทิพย์ จิตสว่าง (๒๕๕๓) เรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อ
พฤติกรรมการกระทำาผิดของนักโทษประหาร” ที่ปรากฏว่าข้อมูลส่วนบุคคลของนักโทษประหาร
กลุ่มตัวอย่าง จำานวน ๒๐๐ คน มีสถานภาพทางสังคมที่ไม่สูง คือ นักโทษประหารกลุ่มตัวอย่าง
ประมาณกว่าครึ่งจบการศึกษาระดับไม่เกินประถมศึกษา ร้อยละ ๕๒.๓ ซึ่งมีผู้ที่จบการศึกษา
ต่ำากว่าระดับประถมศึกษา ร้อยละ ๑๕.๐ โดยมีผู้ที่ไม่เคยเข้ารับการศึกษาในระดับภาคบังคับ จำานวน
๖ คน หรือร้อยละ ๒.๗ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เกษตรกรรม และค้าขาย ร้อยละ
๖๙.๕ รวมทั้งนักโทษประหารกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๖๗.๔
โดยกลุ่มตัวอย่างมีรายได้มากกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๑๔.๕ นอกจากนี้ มีผู้ที่ว่างงานไม่มี
รายได้ ๓ คน สำาหรับผู้ที่มีรายได้ปรากฏว่ามีรายได้ต่ำาสุด คือ ๔๐๐ บาท ต่อเดือน จำานวน ๑ ราย
เช่นเดียวกับงานวิจัยเรื่อง “เส้นทางชีวิตของนักโทษประหาร” ของสุมนทิพย์ จิตสว่าง
(๒๕๕๖) ที่พบว่าข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักโทษประหารส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับ
ประถมศึกษา ประกอบอาชีพค้าขาย ทำาไร่ทำาสวน รับจ้างทั่วไป และการทำาธุรกิจส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่
มีรายได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
จากข้อมูลลักษณะของนักโทษประหารที่มีสถานภาพทางสังคมที่ไม่สูงดังกล่าวข้างต้น
อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำาให้ต้องโทษจำาคุก หรือต้องโทษประหารชีวิต เนื่องจากการที่เป็นผู้มีการศึกษา
ไม่สูงอาจทำาให้ไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย หรือทำาให้ถูกหลอก หรือไม่ทราบวิธีการในการต่อสู้คดีทำาให้
ต้องรับโทษที่ได้กระทำา รวมทั้งจากการที่เป็นผู้ที่มีรายได้หรือฐานะทางเศรษฐกิจไม่สูง อาจทำาให้
ต้องประกอบอาชญากรรมเพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว รวมทั้งการที่ไม่มีเงินในการ
ต่อสู้คดี จึงต้องได้รับโทษ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำาคุกหรือโทษประหารชีวิต ในขณะที่ผู้ที่มีการศึกษาสูง
หรือมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าจะมีโอกาสได้รับโทษน้อยกว่า เพราะมีความรู้ในการต่อสู้คดี หรือมีเงิน
ในการจ้างทนายความที่ดีในการต่อสู้คดี เป็นต้น
ซึ่งจากลักษณะข้อมูลของผู้ต้องขังในประเทศไทย รวมทั้งนักโทษประหารที่มีสถานภาพ
ทางสังคมที่ไม่สูงดังกล่าวข้างต้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงผู้ที่กระทำาผิดเป็นผู้ที่ขาดโอกาสในชีวิต ไม่ว่า
จะเป็นการศึกษา หรือฐานะทางเศรษฐกิจ จนอาจเป็นเหตุผลให้ต้องประกอบอาชญากรรม รวมทั้ง
เมื่อถูกจับกุมตัวและถูกดำาเนินคดี บุคคลกลุ่มนี้ไม่มีอำานาจในการต่อรองหรือต่อสู้คดีได้ เพราะขาด
ความรู้และเงินในการต่อสู้คดี จึงทำาให้นักโทษประหารในประเทศไทยเป็นผู้ที่มีสถานภาพ
ทางสังคมไม่สูงมากนัก ดังนั้น การลงโทษประหารชีวิตผู้ที่ขาดโอกาสในการดำารงชีวิตดังกล่าว
162 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ