Page 161 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 161

ประจำา  ICCPR)  เคยวินิจฉัยว่า  รัฐภาคีไม่จำาเป็นต้องยกเลิกโทษนี้โดยสิ้นเชิง  แต่ต้องบังคับใช้
                  อย่างจำากัดเฉพาะหมวดคดีบางประเภท  เมื่อใดที่ประเทศไทยสามารถหาโทษชนิดอื่นมาทดแทน

                  โทษประหารชีวิตได้แล้ว  ก็จะสามารถรณรงค์ให้พักการใช้โทษประหารชีวิตได้  และรณรงค์

                  ให้ประเทศไทยลงนามในพิธีสารฉบับที่สอง  ซึ่งนำาไปสู่การเร่งรัดกฎหมายภายในที่จะต้องยกเลิก
                  โทษประหารชีวิตโดยสิ้นเชิง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง
                           ประเทศไทยจำาเป็นต้องมีรูปธรรมที่อธิบายได้ว่า หากจะยกเลิกโทษประหารชีวิตในอนาคต

                  ซึ่งอาจมีระยะเวลาต่อไปอีก ๕-๑๐ ปี ประเทศไทยควรมีการปฏิบัติอย่างไร เช่น ยกเลิกการประหารชีวิต

                  สำาหรับความผิดบางประเภทไปก่อน  เช่น  ความผิดเกี่ยวกับกบฏ  แล้วเปลี่ยนมาเป็นโทษจำาคุก
                  ตลอดชีวิต รวมทั้งการมีมาตรการที่เหมาะสมของหน่วยงานที่ต้องทำาหน้าที่ในการดูแลนักโทษเหล่านี้
                  โดยการหามาตรการในระบายจำานวนนักโทษออกจากเรือนจำา เพื่อลดความแออัดยัดเยียดในเรือนจำา

                  รวมทั้งการสร้างมาตรการที่เหมาะสมต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้ที่กระทำาผิดโดยพลั้งพลาดด้วยการไม่ใช้

                  เรือนจำา  เพื่อให้เรือนจำาสามารถเป็นสถานที่ในการควบคุมตัวผู้กระทำาผิดที่มีความเป็นอาชญากร
                  อย่างแท้จริง



                           - ควรคงโทษประห�รชีวิต

                           สำาหรับผู้ที่เห็นว่าประเทศไทยควรมีการคงโทษประหารชีวิตไว้ เนื่องจากจำาเป็นต้องคำานึงถึง
                  ความรู้สึกของผู้เสียหายและคนที่ถูกทำาร้ายด้วย  รวมทั้งหากจำาเลยที่อาจต้องโทษประหารชีวิต
                  มีการรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษเหลือจำาคุกตลอดชีวิตแทน ดังนั้น การใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับ

                  สังคมไทยยังคงมีความจำาเป็น  เพราะการต้องโทษประหารชีวิตยังสามารถขออภัยโทษให้เหลือ

                  จำาคุกตลอดชีวิตได้  ซึ่งกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยยังคงมีการผ่อนหนักเป็นเบา  ไม่มี
                  การใช้โทษประหารชีวิตอย่างจริงจังมากนัก ซึ่งหากไม่มีการใช้โทษประหารชีวิตโอกาสที่ผู้กระทำาผิด
                  ที่มีความเป็นอาชญากรโดยกมลสันดานจะเลิกทำาผิดนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ ซึ่งหากไม่มีโทษประหาร

                  ชีวิต อาจจะทำาให้อาชญากรรมเพิ่มขึ้นแน่นอน

                           นอกจากนี้ ไม่ควรยกเลิกโทษประหารชีวิต เพราะอาชญากรส่วนใหญ่กลัวโทษ จึงไม่ควร
                  ลดโทษให้รุนแรงน้อยลง และเมื่อตัวจำาเลยหรือผู้กระทำาผิดเองยังไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น ก็ไม่จำาเป็น
                  ต้องเคารพสิทธิของผู้กระทำาผิด เพื่อเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม

                           รวมทั้งการกำาหนดโทษทางอาญามีขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติหรือให้โทษแก่

                  ผู้กระทำาผิด  แม้บุคคลส่วนหนึ่งอาจมองได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กระทบต่อเนื้อตัว
                  ร่างกาย  แต่การกระทบสิทธินั้นก็เป็นสิทธิของผู้กระทำาผิดเท่านั้น  ไม่ใช่การละเมิดสิทธิของสังคม
                  โดยรวม และแน่นอนว่าการลงโทษประหารชีวิต คือ การตัดผู้กระทำาผิดออกจากสังคมโดยเด็ดขาด

                  แม้จะมีงานวิจัยออกมาแล้วว่าไม่ทำาให้คนกลัวต่ออาชญากรรม  หากแต่ยังไม่มีงานวิจัยที่แสดง

                  ให้เห็นว่า หากไม่มีโทษประหารชีวิตแล้วทำาให้อาชญากรรมลดน้อยลง ดังนั้น การใช้โทษประหาร
                  ชีวิตแม้จะไม่สามารถข่มขู่ยับยั้งให้คนในสังคมเกรงกลัวได้  แต่ก็ยังสามารถตัดโอกาสผู้กระทำาผิด
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166