Page 125 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 125
โทษประหารชีวิต เนื่องจากเห็นว่าเป็นการลงโทษที่มีความโหดร้ายทารุณ เป็นการลงโทษที่พระเจ้า
เท่านั้นที่มีความเหมาะสมต่อการใช้โทษดังกล่าว
ในโรงเรียนกฎหมายต่าง ๆ ได้มีการกล่าวอ้างถึงข้อความของนักปราชญ์ชาวยิว
Maimonides “การปล่อยคนกระทำาผิด จำานวน ๑,๐๐๐ คน เป็นสิ่งที่ดีกว่าการนำาคนบริสุทธิ์เพียง
คนเดียวมาลงโทษจนกระทั่งเสียชีวิต” (Capital Punishment, 2008)
จากข้อความของนักปราชญ์ชาวยิวที่ได้มีการนำามาสอนในโรงเรียนกฎหมายต่าง ๆ
ดังกล่าวข้างต้น เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า การประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำาอย่างยิ่ง เพราะหาก
เกิดความผิดพลาดขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะแก้ไขหรือช่วยผู้ที่บริสุทธิ์ได้เลย
ศ�สน�อิสล�ม
ข้อกำาหนดของศาสนาอิสลามอนุญาตให้สามารถประหารชีวิตได้ แต่เหยื่อ
หรือครอบครัวของเหยื่อมีสิทธิที่จะขออภัยโทษได้ ภายใต้อำานาจศาลของศาสนาอิสลาม การกำาหนด
ข้อห้ามอาจจะไม่เป็นข้อห้าม จึงส่งผลให้ในบางกรณีแม้จะมีการกำาหนดไม่ใช้โทษประหารชีวิต แต่ใน
ที่สุดอาจจะมีการใช้โทษประหารชีวิตตามมา
กฎหมายอิสลามอาจจะต้องการให้มีโทษประหารชีวิต โดยมีความหลากหลาย
ของชาวมุสลิมที่มีการใช้โทษประหารชีวิต มีความขัดแย้งในการประหารชีวิตด้วยการปาก้อนหิน
โดยได้มีกฎหมายที่กำาหนดให้มีโทษประหารชีวิต อาทิ การข่มขืน แม้ว่าจะมีกฎหมายที่กำาหนด
เกี่ยวกับการแก้แค้นทดแทน แต่อย่างไรก็ตาม ญาติของเหยื่อสามารถตัดสินใจได้ว่าผู้กระทำาผิด
จะถูกลงโทษด้วยการประหารชีวิต หรือการจ่ายค่าเสียหายจากการกระทำาผิด นอกจากนี้ ยังมี
ข้อกำาหนดในกฎหมายอิสลามที่กำาหนดให้โทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่ต้องรับโทษได้
สำาหรับประเด็นกฎหมายที่สำาคัญ คือ กฎหมายอิสลามยังได้กำาหนดไว้ว่า ถ้าบุคคลใด
ก็ตามได้ฆ่าบุคคลในสังคม (ยกเว้นเป็นการฆ่าฆาตกร หรือผู้ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ)
เปรียบเสมือนเป็นการฆ่าทุกคนในรัฐ และถ้าใครก็ตามได้ช่วยชีวิตบุคคลใดก็ตามในสังคม เปรียบ
เสมือนบุคคลดังกล่าวได้ช่วยชีวิตทุกคนในรัฐ (Capital Punishment, 2008)
นอกจากนี้ อิสลามไม่ได้เป็นเพียงศาสนา หากแต่เป็นวิถีชีวิตของมนุษยชาติ
มนุษย์ทุกหมู่เหล่านั้นสืบสายมาจากสายอาดัม ชาวมุสลิม คือ บุคคลผู้ปฎิบัติตามแนวทางของอิสลาม
ที่ศาสดามุฮัมมัดได้สอนเอาไว้ วิถีชีวิตแบบอิสลามนี้จะเจริญรุ่งเรืองได้จำาต้องมีกฎเกณฑ์และความ
ปลอดภัยในสังคม โดยศาสนาอิสลามมีแหล่งของคำาสอนทางคุณธรรมหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์
อัลกุรอาน การปฏิบัติตนของศาสดามุฮัมมัดและสาวก และสุดท้าย คือ การตีความที่แตกต่างกันไป
ตามสำานักคิดทางมุสลิม ชาเลีย คือ ระบบของกฎหมายซึ่งกำาเนิดมาจากความเชื่อ การยอมรับ
โทษประหารชีวิตของมุสลิมนั้นมีพื้นฐานมาจากคำาพูดของอัลลอห์ที่บันทึกเอาไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน
ซึ่งไม่สามารถยกเลิกได้ โทษประหารชีวิตนั้นเป็นของที่มาคู่กับการฆาตกรรมที่มีการไตร่ตรองเอาไว้
112 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ