Page 124 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 124
ประสบกับความสับสนวุ่นวาย เพราะมนุษย์ขาดความเมตตาต่อกัน ต้องการ
เอาชนะและการประหัตประหารเป็นหนทางหนึ่งในการเอาชนะ ซึ่งทำาให้สังคม
ไม่อาจสงบสุขได้ แต่หากทุกสังคมได้มีความเมตตาต่อผู้อื่นแม้กระทั่งนักโทษ
ประหารที่กระทำาผิดอย่างรุนแรง จะทำาให้สังคมเกิดความสงบสุขได้ เพราะ
แท้จริงแล้วนักโทษประหารจำานวนมาก หากได้รับโอกาสที่ดีจากสังคมก่อนต้อง
โทษ สังคมอาจไม่มีนักโทษประหาร แต่เมื่อมีการกระทำาผิดจากบุคคลดังกล่าว
เกิดขึ้น อาจเนื่องมาจากสาเหตุที่บีบบังคับหรือหล่อหลอมทำาให้นักโทษประหาร
ต้องมีบุคลิกภาพที่เสียไป หากสังคมได้ให้โอกาสในการแก้ไขฟื้นฟูตนเอง ด้วย
การให้อภัยทานจะทำาให้สังคมมีความสงบสุขอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ได้มีการจำาแนกบุคคลออกเป็น
๔ จำาพวก เปรียบเสมือนบัวสี่เหล่า ซึ่งสามารถนำามาเปรียบเทียบกับความเป็นอาชญากรได้ คือ
• บัวใต้โคลนตม เปรียบเสมือนอาชญากรที่กระทำาผิดซ้ำาซาก มีพฤติกรรม
ความเป็นอาชญากรที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าจะให้การบำาบัดแก้ไขฟื้นฟู
อย่างไร
• บัวใต้น้ำา เปรียบเสมือนอาชญากรที่กระทำาผิด ซึ่งหากได้รับการแก้ไขฟื้นฟู
ที่ถูกต้องจะสามารถแก้ไขได้
• บัวปริ่มน้ำา เปรียบเสมือนอาชญากรที่กระทำาผิดโดยพลั้งพลาด หากได้รับ
คำาชี้แนะสั่งสอนที่ถูกต้องจะไม่กระทำาผิด
• บัวพ้นน้ำา เปรียบเสมือนผู้ที่ไม่กระทำาผิด เพราะมีความละอายและเกรงกลัว
ต่อบาป หรือการกระทำาผิด
ซึ่งความเชื่อทางพระพุทธศาสนา หากผู้ที่เป็นบัวใต้โคลนตม หรืออาชญากร
ที่มีพฤติกรรมความเป็นอาชญากรที่ยากต่อการแก้ไข วิธีในการปฏิบัติต่อบุคคลดังกล่าวจะไม่ใช้วิธีการ
ประหารชีวิตเพื่อตัดโอกาสในการกระทำาผิดของอาชญากรที่เปรียบเป็นบัวใต้โคลนตม หากแต่
สามารถใช้วิธีการจำาคุกตลอดชีวิต หรือการจำาคุกที่มีระยะเวลานาน เพื่อให้ความชราทำาลายศักยภาพ
ในการประกอบอาชญากรรม ดังนั้น จากความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา แม้อาชญากรจะเป็นผู้ที่มี
ความเป็นอาชญากรโดยกมลสันดานเปรียบเสมือนกับบัวใต้โคลนตม หากแต่การประหารชีวิตยังคง
เป็นสิ่งที่กระทำาไม่ได้ เพราะผิดต่อศีลข้อที่ ๑ คือ ห้ามฆ่าสัตว์
ศ�สน�ยิว
คำาสอนอย่างเป็นทางการของศาสนายิวได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการใช้โทษประหารชีวิต
เป็นกฎพื้นฐาน แต่มาตรฐานของความต้องการพิสูจน์การร้องขอการประหารชีวิตเป็นสิ่งที่มี
ความเข้มงวด ในทางปฏิบัติได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้
โดย ๕๐ ปี ก่อนที่จะมีการทำาลายวัดในเยรูซาเล็ม ปีที่ ๗๐ ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการยกเลิก
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 111