Page 123 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 123

แต่หากสังคมเรียนรู้ที่จะให้อภัยแม้กระทั่งผู้ที่กระทำาผิด  โดยการพิจารณาว่าอาจเป็นเพราะสาเหตุ
                  บางประการที่ทำาให้บุคคลดังกล่าวต้องกระทำาผิด  เพราะมนุษย์ทุกคนเกิดมามีสภาพจิตใจ

                  ที่บริสุทธิ์ หากแต่สิ่งที่ทำาให้สภาพจิตใจไม่บริสุทธิ์ได้แก่ กิเลส ตัณหาที่เข้าครอบงำาจิตใจของมนุษย์

                  ซึ่งหากจิตใจที่ยังไม่ผ่านการเรียนรู้  การฝึกฝนที่ดีพอ  อาจจะทำาให้ไม่สามารถทนทาน
                  ต่อสิ่งยั่วยุ  หรือกิเลสตัณหา  ที่พร้อมจะดึงจิตใจมนุษย์ให้ลงสู่ที่ต่ำา  ซึ่งหากบุคคลได้รับโอกาส
                  แม้บุคคลที่กระทำาผิดรุนแรง  ตัวอย่างดังเช่นองคุลีมาลยังสามารถกลับตัวกลับใจเป็นคนดีได้

                  ดังนั้น  หนทางที่เหมาะสมสำาหรับการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดในทางพระพุทธศาสนา  คือ  การให้

                  โอกาสผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการแก้ไขปรับปรุงตนเองมากกว่าการมุ่งทำาลายชีวิต
                  เพราะการให้โอกาสผู้กระทำาผิดทำาให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสสำานึกผิด  แก้ไขฟื้นฟูตนเอง
                  และสามารถ  กลับคืนสู่การเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคม  เป็นการตัดวงจรของกรรม

                  ตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา  คือ  การให้อภัยทาน  โดยการให้ชีวิตเป็นทาน  เพื่อไม่ให้

                  ต้องมีการผูกเวรและกรรมกันอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้นทั้งชาตินี้และชาติหน้า ชาติต่อ ๆ ไป ตามความเชื่อ
                  ทางพระพุทธศาสนาที่มนุษย์ต้องชดใช้กรรมที่ได้กระทำาไว้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น  หากยังเวียนว่าย
                  ตายเกิดในวัฏฎะสงสาร

                                  ความเชื่อของพระพุทธศาสนานำามาซึ่งกระบวนการกลับตัวกลับใจ  รวมทั้งการ

                  บำาบัดแก้ไขฟื้นฟูอาชญากร เพื่อหลีกเลี่ยงการทำาลายชีวิตด้วยการประหารชีวิต โดยการละเว้นการ
                  ประหารชีวิตจะทำาให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง ดังนี้
                                  ๑. พัฒนาคุณค่าของชีวิต  ด้วยการฝึกฝนคุณธรรม  การครองสติ  ทั้งทางใจ

                                     วาจา และพฤติกรรมการแสดงออกทางกาย

                                  ๒. พัฒนาคุณค่าของการดำาเนินชีวิต ด้วยการพัฒนาเลี้ยงชีพชอบ เพื่อเลี้ยงตนเอง
                                     และครอบครัว เนื่องจากอาชญากรจำานวนมากที่ได้กระทำาผิดด้วยการเลี้ยงชีพ
                                     ไม่ชอบ  เพราะความยากจนที่สามารถผลักดันบุคคลไปสู่การกระทำาผิด

                                     ซึ่งหากมีการพัฒนาคุณค่าของชีวิตด้วยการเลี้ยงชีพชอบ จะทำาให้เป็นแนวทาง

                                     หนึ่งที่เป็นการป้องกันการกระทำาผิดของบุคคลในสังคม
                                  ๓. พัฒนาความแข็งแรงทางจิตใจให้แก่ผู้กระทำาผิด  ด้วยการสร้างความคิดชอบ
                                     วาจาชอบ กระทำาชอบ จะทำาให้ผู้กระทำาผิดสามารถทนทานต่อสิ่งยั่วยุให้ต้อง

                                     กระทำาผิด และจะทำาให้ผู้กระทำาผิดไม่กระทำาผิดอีกต่อไป นอกจากนี้ สำาหรับ

                                     การละเว้นจากการทำาลายชีวิตอาชญากร  หรือการยกเลิกการประหารชีวิต
                                     จะเห็นได้ว่า ไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์จากการสังหารอาชญากรเลย แต่คุณค่า
                                     อันยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อผู้กระทำาผิดได้รับการอภัย  ได้รับการแก้ไขฟื้นฟูและ

                                     ปล่อยกลับสู่สังคม

                                  ๔. การให้ชีวิตของผู้กระทำาผิดจากการละเว้นประหารชีวิต เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง
                                     ความเมตตา  ดังคำากล่าวที่ว่า  เมตตาธรรมค้ำาจุนโลก  เพราะโลกทุกวันนี้






       110     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128